fbpx

10 ข้อควรรู้ก่อนใช้ CGM Continuous Glucose Monitor

10 ข้อควรรู้ก่อนใช้ CGM Continuous Glucose Monitor

CGM (Continuous Glucose Monitor) คือ อุปกรณ์สำหรับติดตามผลน้ำตาลตลอด 24 ชั่วโมง ใช้งานโดยติดลงบนผิวหนังแทนการเจาะปลายนิ้วและแสดงค่า (Realtime Report) บนแอพพลิเคชันแบบ Realtime ทำให้สามารถควบคุมอาหาร ระดับน้ำตาล ได้อย่างแม่นยำมากขึ้น จุดเด่นของ CGM คือ รู้ค่ากลูโคสทุกนาที, เช็กแนวโน้มขึ้น–ลงได้ทันที, วางแผนอาหารและยาได้แม่นยำ, เหมาะกับผู้เป็นเบาหวานหรือคนรักสุขภาพ

  • ไม่ได้เป็นเบาหวานสามารถติด CGM ได้ไหม ?

สามารถใช้งานได้ทั้งผู้เป็นเบาหวานและบุคคลทั่วไปที่ต้องการดูแลสุขภาพ ควบคุมระดับน้ำตาลให้แม่นยำมากขึ้น
  • CGM ต่างจาก BGM ยังไง ?

  • CGM (Contineous Glucose Monitoring) เป็นการวัดระดับน้ำตาลแบบต่อเนื่อง ทำเองที่บ้านได้โดยจะมีเครื่องมือติด Sensor เข้าที่ต้นแขน หรือ หน้าท้อง สามารถดูผลแนวโน้มของน้ำตาลได้ตลอด 24 ชั่วโมงและมีการแจ้งเตือนทันทีเมื่อค่าอยู่ในระดับเสี่ยง
  • BGM (Blood Glucose Montioring) เป็นการวัดระดับน้ำตาลในเลือด โดยใช้เข็มเจาะที่ปลายนิ้ว เพื่อเอาตัวอย่างเลือดใช่เพียงแค่ 1 หยด

  • CGM สามารถกันน้ำได้ระดับไหน ?

ส่วนใหญ่สามารถกันน้ำและสามารถว่ายน้ำได้ในระดับ IP28 ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนใช้งาน

  • ค่าที่ได้จะเทียบเท่ากับการวัดแบบเจาะไหม ?

ค่าที่ได้จาก CGM “ใกล้เคียง” กับการเจาะเลือดปลายนิ้ว แต่ไม่เหมือนกัน 100%

  • CGM วัดระดับน้ำตาลในของเหลวระหว่างเซลล์ (Interstitial Fluid)
    👉 ซึ่ง ต่างจาก BGM ที่วัดจากเลือดโดยตรง ค่าน้ำตาลจาก CGM จะ ช้ากว่าการเจาะเลือดประมาณ 5–15 นาที โดยเฉพาะตอนที่น้ำตาลเปลี่ยนแปลงเร็ว เช่น หลังอาหารหรือออกกำลังกาย

รายละเอียด CGM BGM
ความแม่นยำ ใกล้เคียงสามารถ สูงพอใช้งานจริงได้ แม่นยำกว่าเล็กน้อย
ความรวดเร็ว มีความหน่วงเวลา 5-15 นาที ได้ค่าทันที
การใช้ในชีวิตประจำวัน ดีมาก เห็นแนวโน้มของน้ำตาลตลอดทั้งวัน ควบคุมไก้แม่นยำมากขึ้น ดีสำหรับวัดเฉพาะเวลา

  • การติด CGM มีผลข้างเคียงอะไรไหม ?

  • อาจเกิดระคายเคืองผิวหนังได้ ในผู้ใช้ที่มีผิวแพ้ง่าย
  • Sensor หลุดขณะใช้งาน
  • ส่วนใหญ่เป็นปัญหาเล็กน้อยที่สามารถแก้ไขได้

  • หากใช้ระยะยาว มีผลเสียอะไรกับร่างกายไหม ?

  • ระคายเคืองหรือแพ้ผิวหนังเรื้อรังหากแพ้กาวหรือแผ่นแปะ และยังใช้ต่อเนื่องโดยไม่ดูแลผิวให้ดี อาจเกิด ผิวหนังบางลง, ลอก, มีรอยดำ หรือกลายเป็นผื่นเรื้อรัง

    วิธีป้องกัน:
    ✅ เปลี่ยนจุดติดทุกครั้ง (อย่าติดซ้ำที่เดิม)
    ✅ ใช้ผลิตภัณฑ์ลดการระคายเคือง เช่น barrier spray หรือแผ่นรองผิว
    ✅ ให้ผิวพักบ้างเป็นระยะ เช่น พัก 1-2 วันก่อนติดเซ็นเซอร์ใหม่

  • คุณแม่ตั้งครรภ์สามารถใช้ได้ไหม ?

สามารถใช้ในระหว่างตั้งครรภ์ได้ และในความเป็นจริง แพทย์มัก แนะนำให้ใช้ สำหรับคุณแม่ที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (GDM) หรือเบาหวานชนิดที่ 1 และ 2 ยังสามารถลดภาวะเครียดที่เกิดจากการต้องเจาะเลือดบ่อย ๆ ได้อีกด้วย

  • หากเป็นเด็กต้องมีอายุกี่ปีขึ้นไป ถึงจะสามารถใช้ CGM ได้

CGM เริ่มถูกนำมาใช้ในเด็กมากขึ้น โดยเฉพาะกับเด็กที่เป็น เบาหวานชนิดที่ 1 (Type 1 Diabetes) ซึ่งจำเป็นต้องควบคุมระดับน้ำตาลอย่างใกล้ชิดทุกวัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับยี่ห้อ CGM ที่ใช้ควรศึกษาหรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทุกครั้งก่อนใช้งาน เพราะบางยี่ห้องสามารถใช้ได้ตั้งแต่ 2ขวบขึ้นไป หรือบางยี่ห้อต้อง 7 ขวบขึ้นไปและมีแพทย์คอยติดตามอย่างใกล้ชิด

  • เมื่อติด CGM ควรหลีกเลี่ยงอะไรบ้าง ?

  • พื้นที่อุนหภูมิสูงเช่น ซาวน์น่า การแช่น้ำร้อน
  • การขัดหรือถูแรง ๆ บริการเซ็นเซอร์
  • ใช้โลชั่น ครีม สเปรย์บริเวณเซ็นเซอร์
  • ใช้ เทปเสริม (patch/overlay tape) เพื่อช่วยให้เซ็นเซอร์ติดแน่น
  • เปลี่ยนจุดติดทุกครั้ง (เช่น สลับแขนซ้าย–ขวา) เพื่อให้ผิวหนังได้พัก
  • หลีกเลี่ยงการติดตรงเอว หรือสะโพก ถ้าเป็นเด็กเล็กหรือคนชอบนอนตะแคง

  • หากติดแล้วรู้สึกระคายเคือง คัน มีวิธีแก้ยังไง ?

✅ เปลี่ยนจุดติดทุกครั้ง (อย่าติดซ้ำที่เดิม)
✅ ใช้ผลิตภัณฑ์ลดการระคายเคือง เช่น barrier spray หรือแผ่นรองผิว
✅ ให้ผิวพักบ้างเป็นระยะ เช่น พัก 1-2 วันก่อนติดเซ็นเซอร์ใหม่

  • ในไทยตอนนี้แนะนำเป็น CGM รุ่นอะไรดี ?

ตอนนี้ CGM ที่สามารถหาซื้อได้ง่าย มีคุณภาพและ อ.ย. ได้แก่แบรนด์ Yuwell รุ่น Anytime , แบรนด์ Sinocare รุ่น ican i3