fbpx

การฟื้นฟูดูแลผู้ป่วยติดเตียง

การฟื้นฟูดูแลผู้ป่วยติดเตียง

เครดิต Thai PBS รายการคนสู้โรค ตอนฟื้นฟูดูแลผู้ป่วยติดเตียง ออกอากาศวันที่ 1 มิถุนายน 2559

 

thaihealth_c_bcfhmns12369

 

การฟื้นฟูผู้ป่วยติดบ้านและติดเตียง ปัจจุบันในสังคมไทยของเรานั้นมีผู้สูงอายุมากขึ้นและเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และอีกหนึ่งโรคที่จะมีมาพร้อมกับผู้สูงอายุ คือ โรคผู้ป่วยติดเตียง
วิธีการดูแลรักษาพร้อมกับคำแนะนำสำหรับโรคผู้ป่วยติดเตียง โดย นายแพทย์ พิษณุ สุนทรปิยะพันธ์ แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู

 

thaihealth_c_hjnrt1246789

 

ลักษณะของผู้ป่วย มี 2 กลุ่ม คือ ผู้ป่วยติดบ้าน และผู้ป่วยติดเตียง

ผู้ป่วยติดบ้าน มีลักษณะอาการคือ สามารถเคลื่อนไหว เดินภายในบ้านได้ ออกนอกบ้านไม่ได้ต้องอยู่ในพื้นที่จำกัด

ผู้ป่วยติดเตียง มีลักษณะอาการ คือ ผู้ป่วยที่มีโรค ไม่สามารถเคลื่อนไหวตัวเองได้ หรืออาจจะเป็นกล้ามเนื้ออ่อนแรง

การฟื้นฟู การดูแลผู้ป่วยติดบ้าน มีขั้นตอนดังนี้

• ในกรณีที่มีผู้สูงวัยเป้นผู้ป่วยติดบ้าน คนในครอบครัวต้องดูแลอาการ ให้คงสถาพให้มากที่สุด ช่วยเหลือตัวเองพื้นฐานได้ เช่น ผู้ป่วยสามารถเดินเองได้,เข้าห้องน้ำเองได้ แปรงฟันเองได้ ต้องให้เขา คงสภาพมากที่สุด ระมัดรวังเรื่องการหกล้ม หรืออุบัติเหตุ เล็กๆน้อยๆ เพื่อไม่ให้อาการทรุดลงไปกว่าเดิม

 

images (2)

 

การฟื้นฟูการดูแล ผู้ป่วยติดเตียง มีขั้นตอนในการดูแลหลักๆ 3 ข้อ และเน้นในส่วนของผู้ดูแล เพื่อปฏิบัติกับผู้ป่วยได้ถูกต้อง
• ผู้ป่วยต้องมีคุณภาพชีวิตให้ดีที่สุด ไม่มีแผลกดทับ ไม่มีข้อติด อาหาร การขับถ่าย การปฏิบัติเหลานี้ต้องคำนึงถึงความสะอาดและความเหมาะสม
• ลดภาระที่จะนำผู้ป่วยไป โรงพยาบาล เพราะครอบครัวและผู้ดูแลสามารถดูแลได้ดีเหมือนกัน จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องไปโรงพยาบาล เพราะการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยในแต่ล่ะครั้งมีค่าใช้จ่ายและมีอุปสรรคในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
• ต้องเป็นภาระของผู้ดูแลให้น้อยที่สุด ต้องให้ความร่วมมือกับผู้ดูแลในการขยับหรือยกส่วนต่างๆของตัวผู้ป่วย

 

h9991533_002

 

สาเหตุของการเกิดแผลกดทับ คือ การที่ผู้ป่วยนอนนานๆบริเวณที่เป็นปุ่มกระดูกต่างๆบริเวณเหลานี้ก็จะขาดเลือดมาเลี้ยงตรงนั้นผิวหนังก้จะตายจนเป็นแผลไปเรื่อยๆ
การป้องกันและหลีกเลี่ยงการเกิดแผลกดทับ
• หมั่นตรวจเชคทุกวันในบริเวณที่อาจเกิดแผลกดทับได้ ว่าตรงบริเวณนั้นๆ มีอาการแดงๆรึยัง ถ้ามีถือว่ามีโอกาสเสี่ยงแล้วที่เป็นแผลกดทับ
• หมั้นตรวจสอบการขับถ่ายอยู่เป็นระยะ เชดทำความสะอาดให้แห้ง ทาดลชั่นหรือวาสลีน เพื่อความชุ่มชื่น
• ต้องนอนในท่าทางที่เหมาะสม และเปลี่ยนท่าพลิกตัว ทุกๆ2ชั่วโมง
• ในการเคลื่อย้ายผู้ป่วยให้ยกตัวของผู้ป่วยแทนการลากถู เพื่อลดการเสียดสีของผิวหนังกับพื้นเตียง
• ดูแลเรื่องอาหารกิน เลือกอาหารเพื่อสุขภาพ และย่อยง่าย เพื่อลดภาวะการอืดของท้อง