fbpx

กรุงเทพ – นครศรีธรรมราชและสงขลา ตอนที่8

กรุงเทพ – นครศรีธรรมราชและสงขลา ตอนที่8

408

409

 

ที่ตั้ง : หาดกะรน 78/2 หมู่ 3 ถ.ปฎัก ต.กะรน อ.เมือง จ.ภูเก็ต
Tel. : 076 396 433-41, 076 396 038-44 Fax. : 076 396 136
สิ่งอำนวยความสะดวก
ทางลาด มีทางลาดเข้าสู่อาคาร
ห้องพัก มีห้องพักที่เฉพาะสำหรับคนพิการ ทางเข้าห้องพักเป็นทางลาดเตี้ยๆ ภายในห้องไม่มีพื้นต่างระดับ
ทางเดินทางเชื่อม สามารถสัญจรได้โดยสะดวก
ระดับสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ : ดี

 

410 413
 

ที่ตั้ง : แหลมกา 100 ถ.วิเศษ ต.ราไวย์ อ.เมือง จ.ภูเก็ต
Tel. : 076 381 010-7 Fax. : 076 381 018
สิ่งอำนวยความสะดวก
ทางลาด จัดให้มีทางลาดเข้าสู่อาคาร ขนาดกว้าง และพื้นเรียบ
ทางเดินเชื่อม ไม่ได้อยู่ในระดับเดียวกับพื้นภายนอก มีพื้นต่างระดับบ้างเล็กน้อย
ห้องพัก มีห้องพักที่จัดให้คนพิการ ทางเข้าห้องพักเป็นพื้นระดับเดียวกับภายนอก ภายในห้องไม่มีพื้นต่างระดับ
ห้องน้ำภายในห้องพัก กว้าง มีที่นั่งอาบน้ำและราวจับ
ระดับสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ : ดี

 

412413
 

ที่ตั้ง : 1/5 ถนนหลวงพ่อวัดฉลอง ตำบลตลาดใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต
Tel. : 076 233 496-8 Fax. : 076 233 499
สิ่งอำนวยความสะดวก
ทางเดินเชื่อม พื้นผิวทำจากวัสดุไม่ลื่น พื้นเรียบ ไม่ได้อยู่ในระดับเดียวกับพื้นภายนอก มีพื้นต่างระดับเล็กน้อย
ห้องพัก ทางเข้าห้องพักเป็นพื้นต่างระดับควรมีผู้ช่วยเหลือผู้ใช้ wheel chair
ห้องน้ำภายในห้องพัก ห้องน้ำกว้าง และมีพื้นต่างระดับเล็กน้อยตรงประตู
ระดับสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ : พอใช้
ไม่ได้จัดห้องพักเฉพาะสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุไว้ แต่สามารถพักได้

 

414
 

พังงา เป็นจังหวัดที่มีภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นป่าเขา มีพื้นที่ 4,170.895 ตารางกิโลเมตรอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ 788 กิโลเมตร ชื่อของจังหวัดพังงานั้นเดิมน่าจะเรียกว่า “เมืองภูงา” ตามชื่อเขางา หรือเขาพังงา ซึ่งอยู่ในตัวเมืองพังงาในปัจจุบัน เมื่อตั้งเมืองขึ้นจึงเรียกกันว่า “เมืองภูงา” เมืองภูงานี้อาจจะตั้งชื่อให้คล้องจองเป็นคู่กับเมืองภูเก็ตมาแต่เดิมก็ได้ แต่เหตุที่เมืองภูงากลายเป็นเมืองพังงานั้น สันนิษฐานว่าน่าจะมาจากเมืองภูงาเป็นเมืองที่มีแร่อุดมสมบูรณ์จึงมีฝรั่งมา ติดต่อซื้อขายแร่ดีบุกกันมาก และฝรั่งเหล่านี้คงจะออกเสียงเมืองภูงาเป็นเมือง “พังงา” เพราะแต่เดิมฝรั่งเขียนเมืองภูงาว่า PHUNGA หรือ PUNGA ซึ่งอาจอ่านว่า ภูงา หรือจะอ่านว่า พังงา หรือ พังกา ก็ได้
จากพงศาวดารปรากฏว่าก่อนสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นั้น เมืองพังงาเป็นเมืองแขวงขึ้นอยู่กับเมืองตะกั่วป่า จนกระทั่งถึงสมัยรัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์จึงได้ยกฐานะขึ้นเป็นเมืองเทียบเท่าเมืองตะกั่วป่า เมืองตะกั่วทุ่ง และโอนเมืองจากฝ่ายกรมท่ามาขึ้นเป็นฝ่ายกลาโหมตั้งแต่นั้นมา ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 3 ทรงมีพระราชดำริที่จะปรับปรุงบูรณะหัวเมืองชายฝั่งตะวันตกที่ถูกพม่าตี จึงได้แต่งตั้งข้าราชการมาเป็นเจ้าเมือง และให้ขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ โดยแต่งตั้งให้พระยาบริรักษ์ภูธร (แสง ณ นคร) เป็นเจ้าเมืองพังงาคนแรกในปี 2383 ต่อมาเมืองตะกั่วทุ่งถูกยุบเป็นอำเภอขึ้นกับเมืองพังงา ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ 7 เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ที่ประชุมเทศาภิบาลมณฑลภูเก็ตจึงมีมติให้ยุบเมืองตะกั่วป่าขึ้นกับจังหวัดพังงาด้วย ตั้งแต่ พ.ศ. 2474 เป็นต้นมา แรกเริ่มที่ตั้งเป็นเมืองนั้นสถานที่ราชการอยู่ที่บ้านชายค่าย ต่อมา พ.ศ. 2473 จึงได้มาสร้างศาลากลางจังหวัดขึ้นที่บ้านท้ายช้าง ครั้น พ.ศ. 2515 จึงได้สร้างศาลากลางหลังใหม่ขึ้นบริเวณหน้าถ้ำพุงช้างจนถึงปัจจุบัน

 

415416
 

ที่ตั้ง : อยู่ติดชายทะเลบ้านน้ำเค็ม อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา
สวนอนุสรณ์สถานสึนามิ ตั้งอยู่ติดชายทะเลบ้านน้ำเค็ม ห่างจากตัวอำเภอตะกั่วป่าประมาณ 7 กิโลเมตร จัดสร้างในเนื้อที่ประมาณ 5 ไร่ ประกอบด้วยสวนพักผ่อน สวนสุขภาพ สำหรับออกกำลังกาย สนามเด็กเล่น อนุสรณ์สึนามิและพระรูปกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ทรงพระยศทหารเรือ ประดิษฐานไว้ให้ชาวประมงเคารพบูชา ก่อนออกเดินเรือ
อนุสรณ์นี้ก่อสร้างเป็นช่องทางเดินระหว่างกำแพงกันดินสองข้าง โดยด้านหนึ่งเป็นกำแพงคอนกรีตโค้งคล้ายรูปคลื่นผิวหินขัดสีดำ และมีช่องมองทะลุกำแพงไปจะเห็นเรือประมงที่ได้รับความเสียหายจากคลื่นยักษ์สึนามิมาตั้งไว้ ส่วนอีกด้านหนึ่งเป็นกำแพงเฉียงปูอิฐสลับกับกระเบื้องเซรามิกและรายชื่อของผู้เสียชีวิตสลักบนแผ่นป้ายทองเหลือง ติดบนกระเบื้องเซรามิกซึ่งจำนวนผู้เสียชีวิตที่หมู่บ้านน้ำเค็ม ประมาณ 1,400 คน นอกจากนั้นยังมีร้านจำหน่ายของที่ระลึกผลิตโดยชาวบ้านน้ำเค็มและบริการนำเที่ยวหมู่บ้านน้ำเค็ม

 

417418
 

สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการและผู้สูงอายุ
ทางเดินทางเชื่อม พื้นผิวโดยทั่วไปเป็นพื้นคอนกรีตเรียบ วัสดุไม่ลื่น แต่มีการเล่นระดับ บางแห่งวัสดุพื้นผิวไม่ค่อยเรียบเพราะเป็นคอนกรัตบล็อก มีดินและหญ้าบ้าง บางจุด ยากแก่การใช้รถ Wheel Chair
บันได มีความกว้างมากกว่า 1.5 เมตร พื้นผิวเรียบ
หมายเหตุ ผู้ที่ใช้ Wheel Chair ควรมีผู้ช่วยเหลือ ในการสัญจร
ระดับสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ : พอใช้

 

419420
 

ที่ตั้ง : 9/9 หมู่ 1 ตำบลคึกคัก อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา 82190
Tel : 0-7642-7500
สิ่งอำนวยความสะดวก
ทางลาด มีทางลาดเข้าสู่อาคารโดยมีขนาด วัสดุพื้นผิวและความชันที่เหมาะสม
ห้องส้วม มีห้องส้วมเฉพาะ จัดให้คนพิการสามารถใช้ได้
ห้องพัก มีห้องพักที่จัดให้คนพิการ ภายในห้องไม่มีพื้นต่างระดับ และกว้างมาก
ห้องน้ำภายในห้องพัก ไม่มีพื้นต่างระดับ มีที่นั่งอาบน้ำและราวจับภายในห้อง
ทางเดินทางเชื่อม พื้นผิวเป็นวัสดุไม่ลื่น และไม่มีพื้นต่างระดับ
ระดับสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ : ดีมาก

 

421422
 

ที่ตั้ง : 26/16 หมู่ 7 ถนนเพชรเกษม ต. คึกคัก อ. ตะกั่วป่า จ. พังงา 82190
Tel.: 076-485-123-4 Fax: 076-485-125
สิ่งอำนวยความสะดวก
ทางลาด มีทางลาดเข้าสู่อาคาร
ห้องส้วม มีห้องส้วมแบบแยกเพศชายหญิง จัดไว้เฉพาะสำหรับคนพิการ
ห้องพัก มีห้องพักที่จัดให้คนพิการ ภายในห้องไม่มีพื้นต่างระดับและกว้าง
ห้องน้ำภายในห้องพัก มีที่นั่งอาบน้ำและราวจับภายในห้อง
ทางเดินเชื่อม พื้นผิวทำจากวัสดุไม่ลื่น อยู่ในระดับเดียวกับพื้นภายนอก
ป้ายสัญลักษณ์ มีสัญลักษณ์ของคนพิการแสดงหน้าห้องส้วม
ระดับสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการ : ดีมาก