fbpx

CPAP Support

สำหรับช่วยเหลือและตอบคำถามเรื่องเครื่อง CPAP อีไลฟ์รวบรวมคำถามและเทคนิคเพื่อแก้ไขปัญหาเบื้องต้น หากมีคำถามเพิ่มเติมสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ ติดต่อฝ่ายขาย1 : 098-955-9149 ติดต่อฝ่ายขาย2 :095-348-0712  หรือ Line OA : @elife ร้านเปิดให้บริการจันทร์-อาทิตย์ เวลา 08.00-17.30 น.

การดูแลทำความสะอาดเครื่อง CPAP

เตรียมอุปกรณ์สำหรับทำความสะอาด

  • สบู่ หรือน้ำยาล้างจานสูตรอ่อนโยน เช่น น้ำยาล้างขวดนมเด็ก
  • น้ำอุ่น
  • ภาชนะสำหรับรองใส่น้ำ , อ่างล้างหน้า , อ่างล้างจาน แล้วแต่สะดวก
  • ผ้าขนหนูที่สะอาด

การทำความสะอาดเครื่อง CPAP และอุปกรณ์

  • หน้ากาก Mask CPAP Mask Cushion เป็นส่วนที่ต้องทำความสะอาดทุกวัน เพราะหน้ากากจะสัมผัสกับใบหน้าของเราทุกคืน หากไม่ทำความสะอาด คราบมันจากบนใบหน้า จมูก ของเราจะติดกับขอบหน้ากาก และนำมาใช้อีก จะทำให้เราเกิดความระคายเคืองรอบจมูก หรือมีอาการคันได้ ควรใช้ผ้าขนหนูชุบน้ำ หรือแตะสบู่เพียงเล็กน้อยแล้วเช็ดหน้ากาก โดยเฉพาะบริเวณซิลิโคนที่สัมผัสกับใบหน้าของเรา
  • สายรัดหน้ากาก จะเป็นชิ้นส่วนที่มีการเสียหรือชำรุดบ่อยมากที่สุด ปกติไม่ควรนำสายรัดไปซักทำความสะอาด เพราะตัวตีนตะขาบ , ตีนตุ๊กแก , Velcro , แถบหนามเตย หรือที่เราเรียกกันว่าแคว่ก แคว่ก จะทำให้ติดไม่อยู่ ควรเช็ดด้วยผ้าชุบน้ำก็ถือว่าเพียงพอแล้ว เพราะการออกแบบสายรัดของเมืองนอก จะเป็นลักษณะใช้แล้ว 3-6 เดือน ก็จะเปลี่ยนชิ้นใหม่ แต่บ้านเรา ประเทศไทย ทำแบบนั้นไม่ไหว เพราะราคาค่อนข้างสูง
  • การเปลี่ยน Filter โดยทั่วไป Filter CPAP จะมีด้วยกันอยู่ 2 ชนิด คือ
    • Filter ฟิลเตอร์กรองหยาบ จะมีสีดำ หรือเป็นลักษณะเหมือนฟองน้ำ เราต้องนำออกมาล้างทุกๆ 3 เดือน สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ 
    • Filter ฟิลเตอร์แบบกรองละเอียด Bacteria Filter จะมีสีขาว ควรเปลี่ยนทุกๆ 250 ชั่วโมง หรือ 4-5 อาทิตย์ แล้วแต่เราว่านอนกี่ชั่วโมงต่อวัน ห้ามล้างน้ำแล้วนำกลับมาใช้ใหม่ !!! เพราะฝุ่นโมเลกุลเล็กๆ จะแฝงฝังอยู่ในแผ่นกรอง อาจจะทำให้กรองตัน ก่อให้เกิดเชื้อโรคต่างๆ และอากาศจะผ่านได้ยาก ควรถอดทิ้ง แล้วเปลี่ยนตัวกรองชิ้นใหม่ หากรอให้ตัวกรองเปลี่ยนสีเป็นสีดำ จะทำให้มอเตอร์ทำงานหนักมาก และอาจจะทำให้อายุการใช้งานของเครื่องสั้นลง และเสียก่อนเวลาอันควร
  • ท่อช่วยหายใจ (Standard / Heated Tube) โดยปกติควรจะทำความสะอาดทุกๆ 3 เดือน หรือสังเกตุแล้ว ท่อเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อนๆ ก็ควรทำความสะอาดได้เลย โดยหยดน้ำยาล้างขวดนมเด็กลงไปในท่อ จำนวน 1-2 หยดลงในท่อ แล้วเปิดน้ำให้น้ำไหลผ่านท่อ โยกปลายท่อทั้งสองฝั่งสลับไปมา เพื่อให้น้ำผสมกับน้ำยาล้างแล้วไปขจัดคราบมันภายในท่อ แล้วหลังจากนั้นก็ใช้น้ำเปล่าล้างทำความสะอาดอีกครั้ง และนำท่อไปแขวนตากในแนวดิ่ง เพื่อให้น้ำที่อยู่ภายในท่อไหลตกลงมา หรือจะเปิดเครื่อง CPAP ให้ลมเป่าน้ำที่ค้างอยู่ภายในท่อออกมา จะช่วยให้ท่อแห้งเร็วมากขึ้น
  • ตัวเครื่อง CPAP ส่วนตัวเครื่องใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆ เช็ดคราบฝุ่นทำความสะอาดปกติ หรืออาจจะใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์เช็ด เพื่อฆ่าเชื้อได้
อุปกรณ์  การทำความสะอาด  ควรทำเมื่อไหร่
Mask Cushion

  • ถอดชิ้นส่วนซิลิโคน/เจล (cushion) ออกมาจากโครงหน้ากาก
  • ล้างด้วยน้ำสบู่อ่อนๆ แล้วล้างออกด้วยน้ำเปล่า
  • ทิ้งไว้ให้แห้งในที่ร่ม ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก

*ห้ามเช็ดด้วยแอลกอฮอล์ ห้ามตากแดด*

ทุกวันตอนเช้า
สายรัดศีรษะ (Headgear)

  • ถอดสายรัดศีรษะออกมา
  • ล้างด้วยน้ำสบู่อ่อนๆ หรือน้ำเปล่าผสมน้ำยาซักผ้าอ่อนๆ แล้วล้างออกด้วยน้ำเปล่า
  • ทิ้งไว้ให้แห้งในที่ร่ม ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก

*ห้ามล้างด้วยแอลกอฮอล์หรือน้ำร้อน และห้ามตากแดด*

ทุก 2 สัปดาห์
ท่ออากาศ  (Standard / Heated Tube)

  • ถอดท่ออากาศออกจากตัวเครื่องและหน้ากาก
  • ล้างท่อด้วยน้ำเปล่าหรือน้ำสบู่อ่อนๆ ทั้งภายในและภายนอกท่อ
  • แขวนท่อโดยห้อยปลายท่อทั้งสองด้านลง แล้วทิ้งไว้ให้แห้งในที่ร่ม ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก

*ห้ามล้างด้วยแอลกอฮอล์หรือน้ำร้อน และห้ามตากแดด*

ทุก 2 สัปดาห์
เครื่อง CPAP / เครื่องทำความชื้น (Humidifier)

  • ต้องปิดเครื่องให้ลมหยุดก่อนทุกครั้ง
  • ถอดปลั๊กไฟออกทุกครั้ง
  • ใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำเปล่า เช็ดรอบๆ ด้านนอกตัวเครื่อง แล้วใช้ผ้าแห้งเช็ดอีกที

*ห้ามใช้น้ำร้อน และห้ามตากแดด
*ควรนำเครื่องเข้ามาตรวจเช็คที่บริษัทอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง*

 ทุก 30 วัน
นำเครื่องเข้ามาเช็คปีละ 1 ครั้ง
กระบอกน้ำเครื่องทำความชื้น  (Water chamber)

  • เทน้ำที่เหลือทิ้งทุกเช้า ใช้ผ้าแห้งเช็ด และผึ่งไว้ในที่ร่ม
  • ถ้ามีคราบตะกรัน แนะนำให้ล้างด้วยน้ำยาล้างขวดนม แล้วขัดด้วยฟองน้ำนิ่ม
  • น้ำที่ใช้เติม ไม่แนะนำ : น้ำเกลือ, น้ำแร่, น้ำประปา

– แนะนำ: น้ำต้ม, น้ำดื่มขวด, Sterile water
*ห้ามล้างด้วยแอลกอฮอล์หรือน้ำร้อน และห้ามตากแดด*

ทุกวันตอนเช้า
แผ่นกรองอากาศแบบหยาบ

  • เปิดฝาปิดด้านข้างตัวเครื่อง แล้วดึงแผ่นกรองออกมา
  • ถ้าใช้แผ่นกรองแบบละเอียดร่วมด้วย ให้ถอดออกก่อน
  • ล้างแผ่นกรองหยาบด้วยน้ำเปล่า แล้วสลัดน้ำออกให้มากที่สุด
  • ทิ้งไว้ให้แห้งในที่ร่ม ที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก

*แผ่นกรองชนิดนี้ต้องใส่ไว้ในตัวเครื่องตลอดเวลาที่มีการใช้งาน เพื่อป้องกันฝุ่นเข้าสู่ตัวเครื่อง*

ทำความสะอาดทุก 2 สัปดาห์
เปลี่ยนแผ่นใหม่ทุก 6 เดือน
แผ่นกรองอากาศแบบละเอียด

  • แผ่นกรองชนิดนี้เป็นแบบใช้แล้วทิ้ง (Disposable) ไม่สามารถล้างทำความสะอาดได้ ต้องเปลี่ยนแผ่นใหม่เท่านั้น

*แผ่นกรองแบบละเอียดต้องใช้ร่วมกับแผ่นกรองแบบหยาบเสมอ ไม่สามารถใช้เดี่ยวๆได้*
*แผ่นกรองแบบละเอียดอาจใส่หรือไม่ก็ได้ แต่แนะนำให้ใช้เพื่อป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็ก และเชื้อโรคต่างๆ เข้าสู่ร่างกาย*

เปลี่ยนแผ่นใหม่ทุกๆ 1-2 เดือน

ข้อควรระวังในการทำความสะอาด 

  • หลีกเลี่ยงการนำอุปกรณ์ไปตากแดด หรือเป่าแห้งด้วยลมร้อน
  • หลีกเลี่ยงการเช็ดอุปกรณ์ด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของ Petroleum get หรือการอบโอโซน และแสงจากยูวี
  • หลีกเลี่ยงการเอาแอลกอฮอล์เช็ดทำความสะอาดหน้ากาก และท่อช่วยหายใจ

 

การเลือกหน้ากาก CPAP ให้เหมาะสม
  • Full Mask – หน้ากาก CPAP ชนิดชนิดครอบปากและจมูก ชนิดนี้มีโอกาสเกิดลมรั่วน้อยที่สุด แต่อาจจะทำให้อึดอัด เหมาะสำหรับผู้มีพฤติกรรม นอนอ้าปาก ผู้สูงอายุ
  • Nasal Mask – หน้ากากเครื่องช่วยหายใจ แบบครอบจมูก วัสดุซิลิโคนนิ่ม สบายกว่าการใช้งาน Full Mask แต่ก็มีโอกาสรั่วของอากาศ แนะนำสำหรับผู้ใช้ครั้งแรก
  • Nasal Pillows – หน้ากากแบบหมอนรองจมูก เป็นซิลิโคนรองอยู่ใต้จมูก มีรู 2 รูเข้าจมูกเลย แบบนี้จะสัมผัสกับร่างกายน้อยที่สุด (สบายสุด) ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการใช้งาน สบายแต่อาจแลกมาด้วยการที่อากาศรั่วขณะพลิกตัว
@elifegear มือใหม่ใช้หน้ากากรุ่นไหนดี ? #elife #cpap #resmed #sleepyday #sleeptest ##หน้ากากcpap ♬ Piano sleep LoFi slow midnight(808930) – Gloveity


CPAP Mask ทั้ง 3 แบบ เผื่อช่วยให้ใครหลายๆคนตัดสินใจได้

สำหรับผู้ที่สนใจอ่านเรื่องหน้ากาก สามารถอ่านตัวเต็มได้ที่นี่ CPAP Mask 3ชนิดเลือกอย่างไง? ข้อดี-เสีย หน้ากากเครื่องช่วยหายใจ

 

ควรเปลี่ยนหน้ากาก CPAP บ่อยแค่ไหน ?

ควรเปลี่ยนชิ้นใหม่ทุก ๆ 6 เดือน เพื่อป้องกันเชื้อโรคสะสม

 

หากไม่ทำความสะอาด CPAP จะเกิดผลเสียอย่างไร ?
  • คุณหายใจเข้าไปในเครื่อง CPAP ตลอดทั้งคืน เมื่อคุณป่วย เชื้อโรคจะเข้าไปสะสมในเครื่อง CPAP การปนเปื้อนนี้อาจทำให้อาการป่วยของคุณแย่ลงได้ และอาจทำให้คุณติดเชื้อซ้ำได้หลังจากหายป่วยแล้ว เช่นเดียวกับที่คุณไม่ควรใช้กระดาษทิชชู่ที่ใช้แล้วในการกรองการหายใจ คุณควรทำความสะอาดเครื่อง CPAP ของคุณให้สะอาดทุกครั้งที่คุณป่วย
  • ผู้ที่มีอาการภูมิแพ้โดยเฉพาะผู้ที่แพ้ฝุ่น มักจะประสบปัญหาในการใช้เครื่อง CPAP ที่ดีที่สุดแม้ว่าขั้นตอนที่สำคัญที่สุดคือการค้นหาการตั้งค่าและหน้ากากที่เหมาะสมกับทีมดูแลสุขภาพของคุณ แต่กระบวนการนี้ยังง่ายขึ้นได้ด้วยการทำความสะอาดเครื่องของคุณทุกวัน
  • เครื่อง CPAP ส่วนใหญ่มีตัวกรองที่ต้องเปลี่ยนเป็นประจำ ตัวกรองแบบใช้แล้วทิ้งเป็นตัวกรองที่พบเห็นได้ทั่วไปที่สุดและควรเปลี่ยนทุกสองสัปดาห์ ในขณะที่ตัวกรองแบบใช้ซ้ำได้ควรล้างทุกสองสัปดาห์และเปลี่ยนทุกสามเดือน

 

CPAP สามารถถือขึ้นเครื่องได้หรือไม่ ?

สามารถถือขึ้นเครื่อง Carry-On หรือโหลดสัมภาระใต้เครื่องได้ แต่จำเป็นต้องแยกกระเป๋าออกมาและระบุให้ชัดเจนว่าเป็นเครื่อง CPAP

 

สามารถทดลอง/เช่า เครื่อง CPAP ได้อย่างไร ?


ผู้ที่มีอาการหยุดหายใจขณะหลับ OSA (Obstructive Sleep Apnea) เกิดจากการปิดกั้นของทางเดินหายใจส่วนต้น นำมาซึ่งความเสี่ยงหลายอย่าง ง่วงนอนกลางวัน อ่อนเพลีย รู้สึกนอนไม่อิ่ม อารมณ์ฉุนเฉียว ต่อด้วยอาการความดัน หัวใจ โรคทางระบบประสาท สามารถรักษาด้วยการใช้เครื่องช่วยหายใจแรงดันบวก CPAP

ติดต่อ LINE OA : @elife
โทรศัพท์ : 098-955-9149095-348-0712

 




Hightlight