fbpx

รถเข็นไฟฟ้าสำหรับผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

รถเข็นไฟฟ้าสำหรับผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือ SMA (Spinal muscular Atrophy) เป็นโรคที่พบจากความผิดปกติทางพันธุกรรมหากพ่อแม่มีพาหะของโรคชนิด ลูกก็จะสามารถเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงได้ถึง25% พบได้ประมาณ 1 คน ใน 10,000 คนของเด็กแรกเกิดในแต่ละปี อัตราของคนที่เป็นพาหะของโรคมีมากถึง 1 คน ใน 50 คน โรคนี้เกิดจากเซลล์ประสาทเสื่อมสภาพ หรือถูกทำลายทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงลง ซึ่งเซลล์ประสาทในส่วนนี้จะทำหน้าที่ควบคุมการเคลื่อนไหว โดยสมมติฐานเชื่อว่าโรคนี้เกิดจากหลายเหตุปัจจัยก่อให้เกิดโรคร่วมกัน ได้แก่ ปัจจัยทางพันธุกรรม ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม โดยมีประวัติสัมผัสกับโลหะ หรือสารเคมีบางชนิดที่อาจทำให้ประสาทนำคำสั่งเกิดการทำงานผิดปกติ

 โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงจัดเป็นโรคที่พบมากที่สุดในกลุ่มโรคเสื่อมของเซลล์ควบคุมกล้ามเนื้อ ทั้งในส่วนของสมอง และไขสันหลัง โดยมีอาการกล้ามเนื้อเกร็ง กล้ามเนื้ออ่อนแรงและลีบเล็กลงเรื่อย ๆ  บริเวณมือ แขน ขา หรือเท้าข้างใดข้างหนึ่งก่อน และจะค่อยๆ เป็นมากขึ้น จนลามไป ทั้ง 2 ข้าง ร่วมกับมีอาการกล้ามเนื้อเกร็งหรือกล้ามเนื้อกระตุก ต่อมาจะมีอาการพูดลำบาก กลืนลำบาก หายใจติดขัดและหอบเหนื่อยจากกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจอ่อนแรง จนกระทั่งเสียชีวิต ส่วนใหญ่ร้อยละ75 จะพบอาการเริ่มแรกที่แขน ขา ข้างใดข้างหนึ่งก่อน ร้อยละ 25 ผู้ป่วยที่แสดงอาการครั้งแรกด้วยการกลืนหรือพูดลำบาก ส่วนสาเหตุการเกิดโรคที่แท้จริงยังไม่ทราบแน่ชัด แต่พบว่าประมาณร้อยละ 10 ของผู้ป่วยเกิดจากพันธุกรรม  โรคดังกล่าวมักพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ส่วนใหญ่เกิดในช่วงอายุ 40 – 60 ปี

ผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรงคือผู้ที่มีปัญหากล้ามเนื้อบกพร่องส่วนใหญ่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ด้วยตัวเอง หรือยังช่วยเหลือตัวเองได้ลำบาก เวลาเดินทางหรือเคลื่อนย้ายผู้ป่วยจะต้องมีผู้ดูแลช่วยอุ้มซึ่งถ้าออกไปไหนไกลก็จะเกิดความลำบาก ดังนั้นรถเข็นไฟฟ้าจะเป็นตัวช่วยทั้งผู้ป่วยเองและผู้ดูแลให้ไปไหนมาสะดวกมากยิ่งขึ้น และในปัจจุบันรถเข็นไฟฟ้าสามารถใช้งานได้ 2 ระบบทั้งระบบไฟฟ้าและระบบแมนนวล

หลักการเลือก

  • รถเข็นไฟฟ้าต้องมีโครงสร้างแข็งแรง ควรเลือกเป็นอลูมิเนียมหรือเหล็ก
  • ไม่เลือกขนาดที่เล็กจนเกินไป ขนาดที่เล็กจะประกอบด้วยโครงสร้างที่บอบบางอาจจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่มั่นคง การพลัดตกออกจากรถเข็น
  • ด้านข้างไม่เปิดโล่งจนเกินไปเพราะจะเป็นอันตรายกับผู้ป่วยได้
  • ที่พักแขนสามารถเปิดออกข้างได้เพื่อให้ผู้ป่วยเข้า-ออกรถเข็นได้สะดวก
  • จอยสติ๊กใช้งานไม่ซับซ้อน ไม่ฝืด หากฝืดจนเกินไปจะทำให้ผู้ป่วยบังคับไม่ได้
  • สามารถปิดใช้งานเป็นระบบแมนนวลได้ เพื่อเวลาที่ผู้ป่วยเหนื่อย ผู้ดูแลสามารถเข็นเป็นแมนนวลต่อได้

รถเข็นไฟฟ้าที่เหมาะกับผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรง

หลักการใช้งานรถเข็นไฟฟ้าสำหรับผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรง

  • ไม่ควรให้ผู้ป่วยใช้รถเข็นบนทางลาดชันตามลำพัง หากจำเป็นต้องขับบนทางลาดควรใช้วิธีการถอยหลังเพื่อไม่ให้ผู้ป่วยพุ่งไหลลงไป ผู้ป่วยควรอยู่ในท่านั่งที่มั่นคงมากที่สุดและผู้ดูแลต้องจับมือเข็นให้แน่นค่อยๆถอยอย่างระมัดระวัง
  • การเลี้ยวโค้ง ผู้ดูแลควรตั้งหลักก่อนไม่ควรหักเลี้ยวในทันที
  • หากขับในพื้นที่ขรุขระ ควรใช้ระดับเร็วน้อยๆ ถ้าขับเร็วรถอาจเกิดการพลิกคว่ำได้
  • ควรแจ้งรายละเอียดต่างๆของรถเข็นไฟฟ้าให้ผู้ป่วยใช้งานก่อนเสมอ
  • ไม่ควรปล่อยให้ผู้ป่วยใช้งานตามลำพังหากไม่มีความชำนาญมากพอ

รถเข็นที่อีไลฟ์แนะนำนั้นได้มีการตรวจสอบจากการใช้งานผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรงจริงๆ ผู้ป่วยใช้งานได้จริงนอกจากเราจะใช้รถเข็นไฟฟ้าในการอำนวยความสะดวกแล้ว เราควรให้ผู้ป่วยกายภาพบำบัดเป็นประจำด้วยนะคะ