fbpx

วิธีรับมือกับอารมณ์ผู้ป่วยติดเตียง

วิธีรับมือกับอารมณ์ผู้ป่วยติดเตียง

ผู้ป่วยติดเตียง… ส่วนใหญ่คืออาการป่วยในผู้สูงอายุที่เกิดสุขภาพร่างกายที่เสื่อมโทรม จนไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ ต้องนอนอยู่บนเตียงอย่างเดียวตลอดเวลา บางรายอาจจะพอขยับร่างกายบางส่วนได้บ้างเคลื่อนไหวได้ หรือบางรายอาจไม่รู้สึกตัวเลย ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ผู้สูงอายุ หรือผู้ป่วยมีอาการนอนติดเตียง มักเกิดจากโรค อุบัติเหตุ รวมถึงจากการผ่าตัดใหญ่ สิ่งที่ตามมาจากภาวะการนอนติดเตียง คือผลข้างเคียงที่นำพาไปสู่การเสียชีวิต  ดังนั้น การดูแลผู้สูงอายุที่นอนติดเตียงจึงจำเป็นต้องดูแลอย่างใกล้ชิดด้วยความรู้และความเข้าใจ การรับมืออารมณ์ผู้ป่วยติดเตียงจึงมีความสำคัญในการดูแลมากๆ

ในการดูแลด้านจิตใจของผู้สูงอายุติดเตียง… นั้นมีความละเอียดอ่อนเป็นอย่างมาก เนื่องจากโดยปกติผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะเป็นคนทีคิดมาก และมีความรู้สึกอ่อนไหวอย่างมาก ทั้งความรู้สึกที่ต้องเป็นภาระพึ่งพิง ยิ่งผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ต้องนอนเตียง ยิ่งมีความรู้สึกกังวลในหลายเรื่อง ทั่งจากโรคที่เจ็บป่วย รู้สึกเป็นภาระในการดูแล กลัวถูกทอดทิ้งและกลัวความตายในวาระสุดท้ายของชีวิต ซึ่งผู้สูงอายุติดเตียงที่มีอารมณ์ดี ไม่เครียด และเตรียมใจต่อความเจ็บป่วยได้ จะสามารถอยู่ได้อย่างมีความสุข แต่ในผู้สูงอายุที่มีความวิตกกังวลสูง และในผู้ที่มีอารมณ์โกรธ ยังไม่สามารถปรับตัวกับความเจ็บป่วยได้ ผู้ดูแลหลักต้องดูแลอย่างเอาใจใส่ และต้องสร้างความเข้มแข็งในการเผชิญปัญหาให้กับผู้สูงอายุติดเตียง 

สภาวะจิตใจของผู้ป่วยติดเตียง… เมื่อความสภาวะร่างกายเริ่มไม่ดี มีอาการป่วยต่างๆแทรกซ้อนขึ้นมา จึงทำให้อารมณ์ของผู้ป่วยแย่ลงไปด้วย

  • ซึมเศร้า บางทีผู้ป่วยไม่ได้แสดงอารมณ์ที่เป็นซึมเศร้าโดยตรง แต่จะออกมาในเชิงอารมณ์หงุดหงิด ต่อว่าคนรอบข้าง หรือแสดงความน้อยใจ เช่น พูดจาประชดประชัน พูดเสียดสี เป็นการแสดงออกทางอารมณ์รูปแบบอื่นที่ไม่จำเป็นต้องเศร้าซึม ร้องไห้ เสมอไป
  • อารมณ์แปรปรวนง่าย เพราะฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลงหรือที่เรารู้จักกัน คือ วัยทอง
  • ดื้อ เราต้องเข้าก่อนว่าคนในวัยนี้ผ่านอะไรมาค่อนข้างเยอะ จึงมีความคิดเป็นของตัวเองค่อนข้างสูง
  • ไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมแบบเดิมๆ ไม่ค่อยคำนึงถึงสุขภาพตัวเอง

 

ปัจจัยที่ทำให้ผู้ป่วยติดเตียงมีอารมณ์ฉุนเฉียว…

  • วัยทอง
  • สภาพร่างกายอ่อนแอลง ช่วยเหลือตัวเองได้น้อยลง
  • เพราะผ่านเหตุการณ์สูญเสียในชีวิตมาเยอะ
  • สภาพแวดล้อมภายในครอบครัว เช่น ลูกหลานไม่มาเยี่ยม ไม่ดูแล
  • สังคมที่เคยเป็นอยู่

วิธีรับมือกับอารมณ์ผู้ป่วยติดเตียง
 


  • เป็นผู้ฟังที่ดี ชื่นชมในสิ่งที่เค้าเล่าให้ฟัง
  • ไม่พูดถึงที่เป็นทางการมากเดินไป
  • ใช้น้ำเสียงที่นุ่มนวล
  • ทำให้ทุกอย่างดูเป็นเรื่องตลก 
  • ปรับวิธีคิดไม่ควรยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง หรือเอาความคิดของตัวเองเป็นใหญ่หรือถูกต้องเสมอ พร้อมให้ข้อคิดเช่น “ให้คิดถึงอกเขาไม่ใช่คิดถึงแต่อกเรา”
  • หาหนังสือสักเล่ม ดูลิเก รายการทีวีสนกๆให้ท่านดู กิจกรรมเหล่านี้จะช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกเพลิดเพลินและช่วยให้ไม่หมกมุ่นกับความคิดเดิมๆ
  • ไม่ชวนทะเลาะ ไม่ต้องตอบโต้ด้วยความรุนแรง
  • หาอาหารของโปรดให้เค้าทาน แต่ต้องอยู่ในปริมาณที่พอดีและไม่ควรบ่อยเกินไป เพราะนอกจากสุขภาพแล้วผู้ป่วยจะรู้สึกว่าวันไหนอยากทานสิ่งนี้ต้องทำตัวน่ารักๆ 
  • ช้ธรรมะในการดูแลด้านจิตใจได้แก่ฟังวิทยุธรรมะฟังเทปธรรม อ่านหนังสือธรรมะ
  • ใช้การแสดงความรักต่อกันในครอบครัว เช่น การกอด หอมแก้ม บอกรักกัน
  • ปรึกษาจิตแพทย์ให้เป็นเรื่องปกติ 

อีไลฟ์ขอเป็นกำลังใจให้กับผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง ต้องยอมรับเลยว่าเป็นงานที่หนัก หากเราเข้าใจในสิ่งที่ผู้ป่วยเป็น ปัญหาของโรคที่เค้าเป็นอยู่ เราจะรู้สึกปล่อยวางได้มากขึ้น และนอกจากพาผู้ป่วยจำเป็นต้องพบจิตแพทย์แล้วผู้ดูแลก็ควรพบแพทย์เช่นเดียวกันไม่ว่าจะเป็นภาวะความกังวล ภาวะโรคซึมเศร้า ควรแจ้งแพทย์ เพราะแพทย์จะได้ดูแลทั้งตัวคนไข้และญาติ สิ่งที่สำคัญมากที่สุดก็คือสภาพแวดล้อมภายในบ้าน ลูกหลานเป็นปัจจัยหลักในการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุ…