fbpx

เช็คสิทธิผู้สูงอายุปี 64 เงินไม่เข้าทำอย่างไร?

เช็คสิทธิผู้สูงอายุปี 64 เงินไม่เข้าทำอย่างไร?
เงินผู้สูงอายุ /เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุคืออะไร ?

เงินผู้สูงอายุ (เบี้ยเลี้ยงผู้สูงอายุ /เงินคนแก่/เบี้ยเลี้ยงคนชรา)  ก็คือเงินช่วยเหลือสำหรับผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป โดยจะจ่ายให้เดือนละ 600-1,000 บาท/เดือน  ซึ่งในแต่ละคนนั้นก็จะได้เงินในส่วนนี้ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับอายุของบุคคลนั้น ๆ ด้วย โดยจ่ายเงินผ่านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำหรับในปีงบประมาณ 2564 หรือตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 จนถึงเดือนกันยายน 2564 กรมบัญชีกลางได้ออกปฏิทินการทำงาน สำหรับการจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเบี้ยความพิการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นผ่านระบบบูรณาการฐานข้อมูลสวัสดิการสังคม ทั้งนี้สำหรับ “เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ” มีการดำเนินการมาตรการมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการสร้างหลักประกันด้านรายได้ให้แก่ผู้สูงอายุ โดยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2554

*หลักเกณฑ์การจ่ายเบี้ยยังชีพ

ปฏิทินรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ…ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2563 จนถึงเดือนกันยายน 2564  ธนาคารจะโอนเงินให้ผู้มีสิทธิผ่านบัญชีธนาคาร ดังนี้

เบี้ยผู้สูงอายุประจำเดือน /ปี วันที่จ่ายเงิน
เดือนธันวาคม 2563 9 ธันวาคม 2563
เดือนมกราคม 2564 8 มกราคม 2564
เดือนกุมภาพันธ์ 2564 10 กุมภาพันธ์ 2564
เดือนมีนาคม 2564 10 มีนาคม 2564
เดือนเมษายน 2564 9 เมษายน 2564
เดือนพฤษภาคม 2564 10 พฤษภาคม 2564
เดือนมิถุนายน 2564 10 มิถุนายน 2564
เดือนกรกฎาคม 2564 9 กรกฎาคม 2564
เดือนสิงหาคม 2564 10 สิงหาคม 2564
เดือนกันยายน 2564 10 กันยายน 2564

สำหรับการลงทะเบียนรอบที่ 1 หมดเขตไปเมื่อ 30 พ.ย. 63 สามารถลงทะเบียนรอบที่ 2 ได้ในเดือน ม.. – ..64  องค์กรปกครองท้องถิ่นตามภูมิลำเนา

สำหรับการลงทะเบียนรอบใหม่ : เปิดลงทะเบียนเบี้ยเลี้ยงยังชีพผู้สูงอายุของปี 2564 

เนื่องจากเบี้ยเลี้ยงยังชีพผู้สูงอายุของปี 2563 ได้สิ้นสุดลงในเดือนกันยายน ดังนั้นเพื่อให้ผู้สูงอายุรายใหม่ได้รับสิทธิ์เบี้ยเลี้ยงอย่างต่อเนื่อง จึงได้มีการเปิดลงทะเบียนรับสิทธิ์เบี้ยเลี้ยงยังชีพผู้สูงอายุรอบใหม่ในปี 2654 ซึ่งจะเป็นการแจกเงินในเดือนที่เหลือของปี 63 และของปี 64 ที่จะถึงนี้ (ตามปฏิทินด้านบน)

ซึ่งสำหรับผู้ที่ลงทะเบียนอยู่ก่อนแล้ว ไม่จำเป็นต้องลงทะเบียนซ้ำ ยกเว้นในกรณีที่มีการย้ายภูมิลำเนา แต่สำหรับผู้สูงอายุรายใหม่ที่จะมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ หรือผู้สูงอายุยังไม่เคยลงทะเบียนหรือไม่เคยรับสิทธิ์ใด ๆ มาก่อน สามารถลงลงทะเบียนรับสิทธิ์ได้ โดยมีเงื่อนไขดังนี้

  • สำหรับผู้สูงอายุที่สามารถลงทะเบียนได้ล่วงหน้าตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 เป็นต้นไป จะต้องเป็นผู้ที่เกิดก่อนวันที่ 2 กันยายน- 1 ตุลาคม 2505 ถึงจะลงทะเบียนล่วงหน้าได้ โดยจะเป็นผู้มีสิทธิรับเงินถัดจากเดือนที่มีอายุครบ 60 ปี ซึ่งก็คือเดือน ตุลาคม 2565 นั้นหมายความว่าเป็นงบประมาณของปี 2566

หมายเหตุ : หากข้อมูลในทะเบียนราษฎรไม่มีวันเกิดที่แน่ชัด รู้แต่เพียงปีเกิดเท่านั้นให้ถือว่า วันที่ 1 มกราคม เป็นวันเกิด

สำหรับการขอรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุผ่านธนาคาร สามารถเลือกวิธีการของรับได้จาก

  • ขอรับเป็นเงินสด (รับด้วยตัวเอง หรือ รับผ่านคนที่ได้รับมอบอำนาจ)
  • โอนเงินเข้าบัญชี (ของตัวเอง หรือ ของคนที่ได้รับมอบอำนาจ)
รถเข็นไฟฟ้า
รถเข็นไฟฟ้าผู้สูงอายุ

 ใครบ้างที่มีสิทธิ์ได้รับเงิน เบี้ยเลี้ยงยังชีพผู้สูงอายุ ? 

  • จะต้องมีสัญชาติไทย และมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตองค์กรปกครองตามทะเบียนบ้าน
  • จะต้องมีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป
  • จะต้องไม่เคยรับสิทธิ์ใด ๆ มาก่อน ไม่ว่าจะจากหน่วยงานรัฐหรือหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ อาทิเช่น เงินบำนาญ เบี้ยหวัด หรือหากคุณอยู่ในสถานสงเคราะห์ของรัฐหรือองค์กรปกครองใด ๆ ที่ได้รับเงินเดือนหรือมีผลประโยชน์เป็นค่าตอบแทนที่ได้เป็นประจำ ก็ถือว่าไม่มีสิทธิ์รับเงิน เบี้ยเลี้ยงยังชีพผู้สูงอายุ
เงินผู้สูงอายุได้เท่าไหร่?

 
 จะได้ เบี้ยเลี้ยงยังชีพผู้สูงอายุ เท่าไหร่ ?

อายุ ได้รับเงิน
อายุ 60-69 ปี ได้รับเงิน 600 บาท/เดือน
อายุ 70-79 ปี ได้รับเงิน 700 บาท/เดือน
อายุ 80-89 ปี ได้รับเงิน 800 บาท/เดือน
อายุ 90 ปีขึ้นไป ได้รับเงิน 1,000 บาท/เดือน

 
 ลงทะเบียนรับเบี้ยเลี้ยงยังชีพผู้สูงอายุ ได้ที่ไหน ? 

  • หากคุณอยู่ในเขตกรุงเทพฯ สามารถไปยื่นได้ด้วยตนเอง หรือมอบสิทธิ์ให้ปผู้อื่นไปยื่นแทนได้ค่ะ แต่ต้องมีหนังสือมอบอำนาจเป็นลายลักษณ์อักษรด้วยนะคะ โดยสามารถไปยื่นได้ที่สำนักงานเขตที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านนั้น ๆ
  • หากคุณอาศัยอยู่ที่ต่างจังหวัด สามารถยื่นได้ที่ องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) หรือ สำนักงานเทศบาล ที่ขึ้นอยู่กับภูมิลำเนาของคุณหรือที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านนั้น ๆ ค่ะ

 เอกสารที่ต้องเตรียมในการลงทะเบียนรับเบี้ยเลี้ยงยังชีพผู้สูงอายุ 

  1. บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง หรือหากไม่มีบัตรประจำตัวประชาชน จะต้องมีบัตรหรือเอกสารที่ออกโดยหน่วยงานรัฐที่มีรูปถ่าย
  2. ทะเบียนบ้านตัวจริง และถ่ายสำเนามา 1 ฉบับ
  3. สมุดบัญชีเงินฝากธนาคารตัวจริง ที่เป็นประเภทออมทรัพย์ และถ่ายสำเนามา 1 ฉบับ

กรณีให้ผู้อื่นมาดำเนินเรื่องแทนผู้สูงอายุจะต้องเตรียมอะไรบ้าง ?

  1.  หนังสือมอบอำนาจ โดยแบบฟอร์มของแต่ละพื้นที่จะเหมือนกัน คุณจะต้องเข้ามาติดต่อเจ้าหน้าที่ที่สำหนักก่อน
  2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนและทะเบียนบ้านของผู้สูงอายุ(ผู้มอบอำนาจ) และของผู้ที่มาดำเนินเรื่องแทน (ผู้ที่รับอำนาจ) อย่างละ 1 ฉบับ
  3. สำเนาทั้ง 4 ฉบับ จะต้องมีการเซ็นรับรองสำเนาถูกต้องให้เรียบร้อย ได้แก่
    • ประจำตัวประชาชนและทะเบียนบ้านของผู้มอบอำนาจ
    • ประจำตัวประชาชนและทะเบียนบ้านของผู้รับอำจาจ

 เงินไม่เข้าทำอย่างไรได้บ้าง? 

  • นำสมุดบัญชีติดต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อทป. หรือ อบต.ในพื้นที่)เพื่อทำการปรับปรุงข้อมูล
เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุปี64

ข้อมูลจาก : กรมบัญชีกลาง The Comptroller General’s Department