fbpx

การดูแลรักษารถเข็นวีลแชร์ 

การดูแลรักษารถเข็นวีลแชร์ 

รถเข็นวีลแชร์ในปัจจุบันมีราคาไม่สูงมาก อย่างไรก็ตามการดูแลรักษารถเข็นก็จะช่วยให้ประหยัดเงินมากขึ้นไปอีก เช่นเดียวกับของใช้ทุกอย่าง หากเราดูแลบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพดี รถเข็นก็จะอยู่กับเราไปได้นานขึ้น นอกจากนี้การดูแลรักษารถเข็นจะช่วยลดอุบัติเหตุจากการใช้งานได้ด้วย เพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ใช้งานอีกทางหนึ่ง

อันที่จริงการดูแลรักษารถเข็นวีลแขร์ไม่ได้เป็นเรื่องยุ่งยากหรือมีค่าใช้จ่ายมากมายอะไรเลย เพียงแต่เราหมั่นสังเกต ตรวจสอบชิ้นส่วนต่าง ๆ ของรถเข็นวีลแชร์เป็นประจำเท่านั้น วันนี้ elife* จะมาแนะนำวิธีการง่าย ๆ ในการดูแลรักษารถเข็นวีลแชร์ให้ทราบกัน

ตำแหน่ง

ความสำคัญ

วิธีการ

ทำความสะอาดรถเข็นวีลแชร์
และเบาะรองนั่ง
  • ไม่ให้ส่วนที่เป็นโลหะเกิดสนิม
  • ไม่ให้ส่วนที่เป็นไม้หรือผ้าเปื่อย
  • ไม่ให้เกิดความเสียหายจากเศษ ดินเข้าไปอัดในส่วนที่ทำให้รถเคลื่อนที่
  • ใช้น้ำอุ่นและสบู่
  • เช็ดและผึ่งให้แห้ง
  • ควรให้ความสนใจส่วนที่เคลื่อนที่ และ จุดที่ผ้าใบยึดติดกับโครงรถ
  • ถอดเบาะรองนั่งจากผ้าหุ้มและแยก ทำความสะอาด
  • เบาะรองนั่งควรผึ่งในร่มเสมอ -ห้าม ตากแดด

หยอดน้ำมันในจุดที่มีการเคลื่อนไหว
หรือเคลื่อนที่
  • ช่วยให้ส่วนต่าง ๆให้ส่วนต่าง ๆ เคลื่อนที่อย่างนุ่มนวล
  • ป้องกันการเกิดสนิม
  • ทำความสะอาดรถเข็นวีลแชร์ และผึ่งให้แห้งก่อน
  • ใช้น้ามันหล่อลื่น เช่น น้ำมันจักรหยอดจุดที่ทำให้รถเข็นวีลแชร์ เคลื่อนที่ทุกจุด

เติมลมยาง (กรณีเป็นยางลม)

*รถเข็นวีลแชร์ของ elife* ทุกรุ่นจะเป็น
ล้อยางตัน ทำให้หมดกังวลกับการ
เติมลมยาง

  • ยางมีอายุการใช้งานนานขึ้น
  • เข็นง่าย ใช้แรงน้อยลง
  • เบรกทำงานได้ดี
  • ใช้นิ้วหัวแม่มือกดที่ยางเพื่อตรวจสอบ ลมยาง โดยควรมีรอยกดลงเล็กน้อย (5มม.)
  • ลมยางควรเท่ากันทุกล้อ
  • เติมลมโดยใช้ที่เติมลมจักรยานหรือสิ่ง อื่นที่ใกล้เคียง การลดลมยางทำโดย ปล่อยลมออกจากจุกปิดลมยาง
  • ตรวจสอบรอยสึกหรอบนยางรถเป็นประจำ หากดอกยางสูงน้อยกว่า 1 ม.ม. ควรเปลี่ยนใหม่

ขันน็อตและสลักต่าง ๆ ให้แน่น

  • น็อตที่หลวมจะทำให้ชิ้นส่วน ต่าง ๆ เคลื่อนจากตำแหน่งปรกติ
  • ส่งผลให้เกิดความไม่สะดวกใน การใช้งาน และชิ้นส่วนต่าง ๆ หลุดและสูญหาย
  • ตรวจสอบรถนั่งคนพิการว่าแกนต่างๆ หลวมหรือไม่ ขันให้แน่นด้วยประแจ
  • อย่าขันแน่นจนเกินไป

ขันซี่ล้อให้แน่น (หากหลวม)
  • ซี่ล้อที่หลวมทำให้ล้อโค้งงอ และแตก ได้
  • บีบซี่ล้อทีละ 2 ซี่เข้าหากัน หากดึง เบา ๆ แล้วซี่ล้อหลุดออก อาจ เนื่องจากซี่ล้อหลวมเกินไป ให้ขันให้ แน่นด้วยประแจ
  • ซี่ล้ออาจแน่นเกินไป หากรู้สึกว่าซี่ล้อแข็งมาก อาจเป็นเพราะขันแน่น เกินไป ควรคลายให้หลวม

ตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ
ตรวจสอบสนิมและผ้าใบ

*รถเข็นวีลแชร์ของ elife* ทุกรุ่นจะเป็น
โครงสร้างอลูมิเนียม
(ยกเว้น Eco3)
ทำให้หมดกังวลเรื่องสนิม

  • สนิมทำให้วัสดุต่าง ๆ ไม่ทนทาน เกิดการผุกร่อน
  • ทำให้ส่วนต่าง ๆ แตกหัก และเป็นอันตรายต่อผู้ใช้
  • ผ้าใบควรอยู่ในสภาพที่ดีเพื่อให้ สามารถรองรับร่างกายและ ทำให้เกิด ความสบาย
  • ถ้าผ้าใบฉีกขาดทันทีทันใด ผู้ใช้อาจ ได้รับบาดเจ็บ
  • ตรวจสอบส่วนที่เป็นโลหะที่ทำสีว่า ผุกร่อนหรือมีสนิมหรือไม่
  • ถ้าพบสนิม ให้ใช้กระดาษทรายหรือ แปรงขัดเหล็กขัดสนิมออก
  • ทำความสะอาดด้วยทินเนอร์ ผ้า และทาสีใหม่
  • สำรวจส่วนที่สึก ขาด สกปรก หรือ ส่วนที่ หลุดห้อยออกมา
  • ตรวจสอบความตึงของที่นั่งและ พนักพิงว่าเหมาะสมหรือไม่
  • ถ้าผ้าใบ ขาด ตึงหรือหย่อนเกินไป ให้ซ่อมแซม
ตรวจสอบเบาะรองนั่ง
  • เบาะรองนั่งควรสะอาดและแห้ง เพื่อ ปกป้องผิวหนังได้
  • เบาะรองนั่งจะมีอายุการใช้งานสั้นกว่าตัวรถเข็น
  • การตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอจะทำให้รู้เวลาที่ควรเปลี่ยนเบาะรองนั่ง
  • ถอดผ้าหุ้มเบาะ
  • ตรวจสอบส่วนที่ฉีกขาด สกปรก และรูทั้งในผ้าหุ้มและฟองน้ำ
  • ถ้าเบาะรองนั่งขาด ควรเปลี่ยนใหม่

สำหรับรถเข็นแบบไฟฟ้าจะต้องตรวจสอบเพิ่มเติมดังนี้

การทำความสะอาดรถรถเข็นไฟฟ้า

ส่วนของรถเข็นที่ถูกสัมผัสบ่อยควรทำความสะอาดด้วยผ้าสะอาดเปียกหมาด ๆ เช่น ที่นั่ง ที่วางแขน ชุดควบคุมและอื่น ๆ ห้ามใช้สารทำละลายทุกชนิด ควรทำความสะอาดทุกสัปดาห์ หากมีความจำเป็นสามารถใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคร่วมด้วย

การดูแลรักษาแบตเตอรี่

ชาร์จแบตเตอรี่เป็นประจำ อย่าปล่อยให้พลังงานเหลือน้อย จะทำให้แบตเตอรี่เสื่อมอย่างรวดเร็ว ห้ามทำให้เกิดการลัดวงจรโดยเด็ดขาด

เมื่อรถเข็นขัดข้อง และการแก้ไข

หากรถเข็นไฟฟ้าขัดข้องระหว่างใช้งาน ให้ปิดสวิทซ์ก่อนที่จะทำการซ่อมแซม หากรถมีอาการไม่แสดงไฟสถานะเลยให้ตรวจสอบตามขั้นตอนต่อไปนี้

ตรวจสอบข้อต่อของสายควบคุม

ตรวจสอบข้อต่อสายแบตเตอรี่ และสายอื่น ๆ อย่าดึงที่สาย ให้ดึงที่หัวต่อ เพื่อป้องกันสายเสียหาย

หากทำตามขั้นตอนข้างต้นแล้วยังไม่เป็นผล ให้ติดต่อผู้จำหน่ายทันที

  

หมายเหตุ

ตัวรถเข็นวีลแชร์ของ elife* จะมีระบบตรวจสอบตัวเอง โดยจะแสดงสาเหตุของความผิดปรกติ ที่ไฟแสดงสถานะแบตเตอรี่ และเสียง โปรดตรวจสอบในคู่มือประจำรถได้เลย ควรตรวจสอบสภาพรถเป็นประจำเพื่อความปลอดภัย โดยส่วนที่ควรตรวจสอบในแต่ละช่วงเวลาจะแสดงในตารางด้านล่าง

การชาร์จแบตเตอรี่รถเข็นไฟฟ้า โปรดทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

  1. ตรวจดูว่าในรูเต้ารับไม่มีสิ่งสกปรก
  2. ปิดสวิทซ์ไฟที่คันบังคับก่อน
  3. ถอดสายไฟที่ต่อจากแบตเตอรี่ออกจากตัวรถ
  4. ต่อสายเครื่องชาร์จเข้ากับแบตเตอรี่
  5. ต่อสายเครื่องชาร์จอีกด้านเข้ากับไฟบ้าน จะมีไฟสีแดงที่เครื่องชาร์จ การชาร์จจะใช้เวลา 8-10 ชม. ห้ามปล่อยไว้เกิน 24 ชม.จะทำให้อายุการใช้งานสั้นลง
  6. ถอดสายชาร์จออกเมื่อการชาร์จเสร็จสมบูรณ์

หากไม่ได้ใช้รถเข็นหลาย ๆ วันให้ถอดสายแบตเตอรี่ออกเพื่อประหยัดไฟ และให้ชาร์จแบตเตอรี่เดือนละ 1 ครั้ง เมื่อไม่ได้ใช้รถเป็นเวลานาน

คำเตือนเกี่ยวกับการชาร์จ

ไม่ควรถอดสายชาร์จถ้าการชาร์จยังไม่เสร็จสมบูรณ์ มิฉะนั้นจะทำให้ แบตเตอรี่เสื่อมก่อนเวลาอันควร ให้สังเกตไฟสีเขียวที่เครื่องชาร์จซึ่งแสดงว่าการชาร์จเสร็จสมบูรณ์แล้ว โปรดปฏิบัติตามหัวข้อต่อไปนี้เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายจากการชาร์จ

  • เครื่องชาร์จจะต้องใช้ตามที่ผู้ผลิตเตรียมให้เท่านั้น เพื่อป้องกันอันตรายจากการใช้ผิดขนาด
  • เครื่องชาร์จจะต้องวางไว้ในที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวก หลีกเลี่ยงสถานที่เปียก หรือมีความชื้นสูง
  • ห้ามปิดทับเครื่องชาร์จด้วยวัสดุใด ๆ ทั้งสิ้น
  • ห้ามใช้เครื่องชาร์จในที่ที่อุณหภูมิต่ำกว่า10°c หรือ มากกว่า 50°C อาจทำให้แบตเตอรี่เสียหายด้วย
  • จะมีเสียงพัดลมระบายความร้อนในเครื่องชาร์จเป็นเรื่องปรกติ
  • อย่าให้มีของเหลวหกลงบนเครื่องชาร์จ อย่าใช้เครื่องชาร์จใกล้วัสดุไวไฟ หรือติดไฟได้
  • เก็บให้ห่างจากไฟ
  • ห้ามสูบบุหรี่ขณะชาร์จ เพราะเครื่องชาร์จจะปล่อยก๊าซ H2 ขณะชาร์จ ควรวางเครื่องชาร์จในที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวก
  • ห้ามสัมผัสเครื่องชาร์จ สายไฟ แบตเตอรี่ขณะที่เครื่องชาร์จเปียกหรือมือเปียก
  • ห้ามนั่ง หรือขับเคลื่อนตัวรถขณะชาร์จอยู่ เพื่อป้องกันอันตราย

ความปลอดภัยเกี่ยวกับแบตเตอรี่

  • การใช้แบตเตอรี่ผิดชนิดอาจทำให้เกิดการระเบิด หรือไฟไหม้ได้
  • ควรเปลี่ยนแบตเตอรี่ตามคำแนะนำของผู้ผลิตเท่านั้น
  • การเปลี่ยนจะต้องตรวจสอบขั้วให้ถูกต้อง
  • ควรชาร์จแบตเตอรี่ให้เต็มอยู่เสมอ
  • หากไม่ได้ใช้รถเป็นเวลานานให้ชาร์จแบตเตอรี่ก่อนใช้งาน

หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้คุณได้ใช้รถเข็นอย่างเต็มประสิทธิภาพ และ