fbpx

ทำความเข้าหลักการออกแบบอารยสถาปัตร(Friendly Design) เพื่อผู้ใช้งานรถเข็นวีลแชร์ ผู้พิการ ผู้สูงอายุ

ทำความเข้าหลักการออกแบบอารยสถาปัตร(Friendly Design) เพื่อผู้ใช้งานรถเข็นวีลแชร์ ผู้พิการ ผู้สูงอายุ

ในช่วงสถานการณ์โลกไม่ค่อยจะดี…ในปีที่ผ่านมา จำเป็นต้องกักตัวงดการท่องเที่ยวทุกอย่างไม่สามารถออกไปไหนมาไหนได้ แต่ตอนนี้สถานการณ์เริ่มดีขึ้นตั้งแต่ต้นปี ผู้คนเริ่มออกไปเที่ยวมากขึ้นอีไลฟ์ไม่แน่ใจว่า ดีขึ้นหรือคนไทไม่กลัวโควิด-19กันแล้ว ขำๆค่ะ แต่อย่างที่บอกไปว่าประเทศเริ่มกลับมาคึกคักอีกครั้ง และทุกๆภาครัฐก็กำลังกระตุ้นเศรษฐกิจเรื่องการท่องเที่ยวไทยมากๆ งัดโปรโมชั่นและดีลสุดพิเศษมาเอาใจนักท่องเที่ยว เพื่อหวังจะสร้างความสุขหลังจากที่ต้องเผชิญกับวิกฤตกันมาอย่างยาวนาน  จะดีอย่างไร ? เมื่อผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้เปราะบางสามารถออกไปสถานที่ท่องเที่ยว ห้างสรรสินค้า ร้านอาหาร ร้านค้าปลีก ได้เหมือนกับคนทั่วไป เพราะประเทศไทยมีกลุ่มผู้พิการร่วม 2 ล้านคน ขณะที่กลุ่มผู้สูงอายุกว่า 12 ล้านคน เป็นกลุ่มใหญ่ที่เริ่มด้วยข้อจำกัดของสุขภาวะทางร่างกาย แล้วส่งผลกระทบต่อจิตใจและสังคมตามมาด้วย ดังการสร้างเสริมสุขภาพให้กับบุคคลเหล่านี้จำเป็นต้องใช้วิธีที่ต่างออกไป จึงได้มีแนวคิด หลักการออกแบบ อารยสถาปัตร (Friendly Design) เพื่อความเป็นกลางและทุกคนสามารถเข้าถึงได้  ไม่ว่าจะเป็นผู้สูงอายุ ผู้พิการ และกลุ่มเปราะบาง ให้สามารถเข้ามาใช้บริการได้เหมือนคนทั่วไป

และวันนี้อีไลฟ์จะขยายความหลักการออกแบบ อารยสถาปัตร (Friendly Design)  มีที่มาจาก สสส. คือหลักการออกแบบเพื่อความเป้นมิตรกับคนทั้งมวลหรือปรับสภาพแวดล้อมที่เป็นมาตรฐานสากล ทุกคนสมารถใช้ได้ สะดวก ทันสมัย ปลอดภัย รวมถึงเรือนสิ่งปลูกสร้าง ตึกอาคาร สถานที่ แหล่งท่องเที่ยว ระบบขนส่งมวลชน ตลอดจนพื้นที่สาธารณะ รวมไปถึงสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ที่ช่วยทำให้คนทุกเพศทุกวัย ทุกสภาพร่างกาย โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ผู้ป่วยพักฟื้น ผู้พิการ ครอบครัวที่มีเด็กเล็ก และคนที่ใช้รถเข็นวีลแชร์ สามารถเข้าได้ใช้ประโยชน์ได้ สะดวก ทันสมัย ปลอดภัย เป็นธรรม ทั่วถึง เท่าเทียม.

หลักการออกแบบ Friendly Design สามารถแบ่งได้เป็น 9แบบ

  1.  สะดวก Convenience เน้นการออกแบบที่ให้ความสะดวกสบายกับทุกคนที่เข้ามา ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือกลุ่มคนเปราะบาง เช่น
  2. ปลอดภัย Safety
  3.  ทันยุค ทันสมัย Modernization
  4. เป็นธรรม Fairness
  5. เชื่อมโยงทั่วถึง Inclusivity
  6. เท่าเทียม Equity
  7. ใช้งานง่าย Easy to use
  8. ยืดหยุ่น Flexibility
  9. มาตรฐานสากล International standard

การออกแบบขนาดพื้นที่สำหรับผู้ที่ใช้งานรถเข็นวีลแชร์ เก้าอี้รถเข็นผู้สูงอายุและผู้พิการ เพื่อสร้างความสะดวกสบายให้กับผู้ใช้งานรถเข็นวีลแชร์ ผู้พิการและผู้สูงอายุ ในการสัญจรไปมา เคลื่อนไหว และทำกิจกรรมต่างๆได้

ระยะแขนที่เอื้อมถึง เพื่อหยิบสิ่งของที่อยู่บนชั้น ใช้งานอ่างล้างมือ 

  • ผู้ที่ใช้งานรถเข็นวีลแชร์จะมีความสูงจากศีรษะจนถึงล้ออยู่ที่ 1.3 เมตร
  • ควรเว้นพื้นที่ให้อยู่ในระยะแขนที่เอื้อมถึง ในท่านั่งตรงมีระยะอยู่ที่ 70-92 ซม.
  • ท่าเอื้อมสามารถโน้มเข้าหาได้ระยะ 50-68 ซม.

ระยะหมุนรอบรถเข็น เพื่อหมุนกลับรถรถเข็นวีลแชร์

  • เว้นพื้นที่สำหรับรถเข็นวีลแชร์ 360 องศา ระยะ 1.5 เมตร

ระยะทางเดินรถเข็น 

  • พื้นที่สำหรับรถเข็นคันเดียว มีความกว้าง 90-100 ซม.
  • พื้นสำหรับรถเข็นวีลแชร์สวนกัน มีความกว้าง 1.5-2 เมตร

สิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน แบ่งเป็นภายในอาคารและนอกอาคาร

สิ่งอำนวยความสะดวกภายในอาคาร

  • ทางลาด สำหรับผู้สูงอายุและผู้พิการสามารถเดินได้ง่ายขึ้น
  • บริการที่พิเศษสำหรับมนุษย์ล้อ รถเข็นคนพิการ ผู้สูงอายุ
  • ห้องสุขา มีทั้งสำหรับคนทั่วไปและผู้พิการ
  • ลิฟต์
  • ป้ายสัญลักษณ์
  • พื้นผิวต่างสัมผัส(สำหรับคนตาบอด)

สิ่งอำนวยความสะดวกนอกอาคาร

  • ทางเข้าอาคาร
  • ประตู
  • ป้าย
  • บันได
  • ราวจับ สำหรับพยุงผู้สูงอายุ
  • ทางลาด อยู่ 1:12 สำหรับผู้ใช้งานรถเข็นวีลแชร์
  • ป้ายบอกทางและที่ตั้งสถานที่
  • ที่จอดรถ จำนวนที่จอดรถที่เพิ่มทุก 100 คันให้ที่จอดรถของคนพิการเพิ่มขึ้น 1 คันต่อจาก 100 คันแรก ขนาดที่พื้นจอดรถสำหรับผุ้ใช้วีลแชร์เป็นลักษณะสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีความกว้างต่อกันไม่น้อยกว่า 2.4 เมตร เว้นระยะห่างตรงกลาง 1 เมตร
  • พื้นผิวต่างสัมผัสสำหรับคนตาบอด

ทางลาดที่ดีปลอดภัยหายห่วงต้องเป็นอย่างไร ?

  • ควรมีความกว้างอย่างน้อย 90 ซม. ในกรณีที่ทางลาดมีความยาวทุกช่องทางรวมกันมากกว่า 6 เมตรขึ้นไป ต้องมี “ชานพัก” ความกว้างไม่น้อยกว่า 1.5 เมตรทุกระยะ ช่องทางลาดไม่เกิน 6 เมตรและทางลาดมีความกว้างอย่างน้อย 150 ซม.

ทางลาดที่ไม่ใช่ทางชัน

สัดส่วนความชัน ความสามารถในการใช้ทางลาด สำหรับผู้สูงอายุ ผู้ป่วยพักฟื้นและผู้พิการที่ใช้รถเข็นวีลแชร์ทั้งแบบรถเข็นไฟฟ้าและรถเข็นแมนนวล
0 ผู้ใช้รถเข็นสามารถขวบคุมการเคลื่อนที่ของรถเข็นได้ด้วยตนเอง
1:12 ถึง 1:15 ผู้ใช้รถเข็นสามารถขวบคุมการเคลื่อนที่ของรถเข็นได้ด้วยตนเอง ได้ทั้งแบบรถเข็นแมนนวลและไฟฟ้า
1:12 ถึง 1:10 ผู้ใช้รถเข็นไม่สามารถควบคุมเองได้จำเป็นต้องมีผู้ดูแล ยกเว้นกรณีใช้เป็นรถเข็นไฟฟ้า
มากกว่า 1:10 ก่อใหเกิดอันตรายกับผู้ใช้รถเข็น จำเป็นต้องมีผุ้ดูแลอยู่อย่างใกล้ชิด
  • ความกว้างของทางลาดไม่ควรน้อยกว่า 90 ซม. เป็นพื้นที่ปูด้วยปูนไม่ลื่นเวลาเปียกน้ำ
  • ติดราวจับทั้ง 2 ฝั่งทางลาดและยกขอบทางลาดเพื่อป้องกันการลื่นไหลออกไปได้
  • ทางลาดควรมีชานพักขนาด 1.50 เมตร ทุกๆระยะ 6 เมตร และควรมีชานพักขนาด1.50 เมตรขึ้นไปในบริเวณที่เป็นประตูหรือทางเข้าออก

ทางลาดแนวตรง

  • ทางมีความยาวน้อยกว่า 6 เมตร
  • มีความกว้างไม่น้อยกว่า 90 ซม.
  • ความยาวทางลาดมากกว่าหรือเท่ากับ 6 เมตร (ทุกช่องรวมกัน)
  • ควรมีความกว้างทางลาดไม่น้อยกว่า 1.5 เมตร

ทางลาด 90/180 องศา

  • ทางมีความกว้าง 1.50 เมตร
  • มีความยาว 6 เมตร

ทางลาดขอบถนน

  • มีสัดส่วนไม่เกิน 1:10 เพื่อความสะดวกและปลอดภัยของผู้ใช้งานรถเข็น
  • ขอบถนนสูงไม่เกิน 15 ซม.

โต๊ะนั่งสำหรับผู้ใช้งานรถเข็นวีลแชร์

  • โต๊ะควรมีความลึกไม่น้อยกว่า 40 ซม. เพื่อเสียบรถเข็นวีลแชร์เข้าไปในโต๊ะได้พอดี
  • ความสูงของเคาร์เตอร์ขอบบนประมาณ 80 ซม.
  • ขอบล่างไม่น้อยกว่า 70 ซม.

ห้องน้ำเฟรนด์ลี่ ดีไซน์  ใช้หลักการคล้ายกับการออกแบบบ้านให้ผู้สูงอายุ คำนึงถึงความปลอดภัยเป็นมารตรฐาน มาดูหลักการออกแบบห้องน้ำที่เหมาะสมกับกลุ่มเปราะบางกันเถอะ…

  • พื้นห้องน้ำมีระดับเสมอกับภายนอก ถ้าต่างระดับจำเป็นต้องมีทางลาด สำหรับผู้ใช้งานรถเข็นวีลแชร์และป้องกันการสะดุดล้ม
  • เว้นพื้นที่ว่างภายในห้องน้ำ เพื่อให้รถเข็นหมุนกลับตัวได้ มีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 1.5 เมตร
  • พื้นผิวไม่ควรเป็นวัสดุที่ลื่น เลือกที่มีความฝืด กันน้ำ ทำความสะอาดง่าย และมีระบบระบายได้ดี
  • ควรเป็นประตูบานเลื่อนที่มีลักษณะเปิดออกทางด้านนอก
  • ภายในห้องน้ำต้องมีสัญญาณฉุกเฉินเพื่อขอความช่วยเหลือจากด้านนอก โดยระบุป้ายชัดเจนวางในตำแหน่งสูงจากพื้นไม่เกิน 20 ซม.

สัดส่วนของห้องน้ำ

  • ประตูมีความกว้างอย่างน้อย 90 ซม. เพื่อให้รถเข็นวีลแชร์เข้าได้สะดวก และควรเลือกใช้เป็นประตูแบบเลื่อน ระบบล็อคควรเป็นตะขอสับเพื่อให้เข้าช่วยเหลือจากด้านนอกได้
  • เว้นพื้นที่สำหรับกลับรถวีลแชร์ มีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 1.5 เมตร
  • ความสูงที่นั่งไม่ว่าจะเป็นชักโครกหรือที่นั่งสำหรับอาบน้ำอยู่ห่างจากพื้นอยู่ที่ 45 ซม.
  • ความสูงของอ่างล้างมือห่างจากพื้น 60 ซม. กว้าง และ45 ซม. เว้นพื้นที่สำหรับวีลแชร์เข้า 60 ซม.

อุปกรณ์เสริมในห้องน้ำ

  • ราวจับพับเก็บได้ เพราะจะไม่กินพื้นที่ ไม่ควรติดผนังเพื่อสะดวกต่อการใช้งานผู้ใช้เข้า-ออก เมื่อมีราวจับข้างสามารถช่วยในเรื่องการทรงตัว
  • ราวจับตัวแอล ด้านที่ติดผนังเพื่อช่วยลดแรงผู้สูงอายุในการทรงตัวขณะยืน
  • อุปกรณ์สัญญารฉุกเฉินเพื่อขอความช่วยเหลือ
  • โถส้วม ควรใช้แบบชักโครกเพื่อความสะดวก
  • อ่างล้างมืออยู่ห่างจากผนังไม่น้อยกว่า 0.45 เมตร ไม่ติดเข่า ควรใช้แบบแขวนผนังเพื่อไม่ให้มีสิ่งกีดขวางรถเข็นวีลแชร์สามารถเข้าได้ และควรมีราวจับแบบติดผนังที่พับเก็บได้ทั้ง 2 ด้าน เพื่อช่วยในการทรงตัว
  • ก๊อกน้ำเป็นชนิดคันโยกหรือแบบอัตโนมัติ

ลิฟต์มารตรฐานสำหรับผู้สูงอายุและผู้พิการใช้งานอย่างปลอดภัย

  • ความกว้างขอประตูไม่น้อยกว่า 90 ซม.
  • ขนาดความกว้างไม่น้อยกว่า 1.1 เมตร ยาวไม่น้อยกว่า 1.4 เมตร
  • มีราวจับรอบลิฟต์สูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 80-90 ซม.
  • ปุ่มกดปุ่มล่างสูงจากพื้น 90 ซม. ความสูงขอปุ่มบนไม่เกิน 120 ซม. มีไฟเตือนภัยขณะลิฟต์ขัดข้อง
  • มีโทรศัพท์แจ้งเหตุฉุกเฉินติดตั้งในระดับ90-120ซม. จากพื้น
  • มีเสียงบอกเลขชั้น และเสียงแจ้งเตือนให้ทราบว่าประตูเปิด-ปิด
  • มีระบบการทำงานให้ลิฟต์จอดที่ระดับพื้น และประตูเปิดอัตโนมัติ