fbpx

การตรวจสอบความปลอดภัยภายในบ้านที่มีการใช้รถเข็นวีลแชร์

การตรวจสอบความปลอดภัยภายในบ้านที่มีการใช้รถเข็นวีลแชร์

สิ่งแวดล้อมทางกายภาพภายในบ้าน


ในการทำบ้านให้ปลอดภัยกับผู้ใช้รถเข็นวีลแชร์ เราต้องเข้าใจ และคาดการณ์ถึงความเป็นไปได้ของการเกิดอันตรายภายใน และรอบ ๆ บ้านเสียก่อน
จากการศึกษาโดยผู้ใช้รถเข็นวีลแชร์เองแสดงให้เห็นว่ากิจกรรมที่มักจะเกิดปัญหาในการเข้าถึงมักจะเป็นพื้นที่ดังต่อไปนี้
• ในพื้นที่ส่วนตัว เช่นการขึ้น หรือลงจากเตียง การทำความสะอาด หรือการสวมเสื้อผ้า
• การเตรียมอาหาร และรับประทานอาหาร
• การเอื้อม หรือก้มเพื่อเปิดตู้ ชั้นวางของ หรือการตากผ้า
• ความลำบากที่เกิดจากการสูญเสียความรู้สึก
• การจับต้อง และการใช้งานสิ่งของบางอย่างเช่นลูกบิดประตู คันโยก ของที่วางตั้งอยู่ หรือของที่มีขนาดใหญ่หรือน้ำหนักมาก
การกำหนดจุดที่มีปัญหาเหล่านี้มีความสำคัญมาก และที่สำคัญที่สุดคือความเห็นจากผู้ที่ใช้รถเข็นวีลแชร์เอง

การจัดวางผังในบ้านเบื้องต้น

• ช่องประตูอาจจะต้องกว้างกว่าปรกติ เพื่อให้การเคลื่อนที่ผ่านประตูเป็นไปได้อย่างสะดวก ทั้งผู้ใช้รถเข็นวีลแชร์ และผู้ใช้รถเข็นช่วยเดิน ซึ่งความกว้างอย่างน้อย 80 ซม. ก็เพียงพอสำหรับรถเข็นส่วนใหญ่รวมไปถึงรถเข็นวีลแชร์ไฟฟ้าด้วย
• การหมุนกลับตัวในอาคารก็เป็นสิ่งที่ต้องพิจารณา ต้องมีพื้นที่ที่กว้างพอที่จะให้รถเข็นวีลแชร์กลับตัวได้อย่างสะดวกเพื่อการเข้า และออกพื้นที่นั้น ๆ ได้
• รายการข้างล่างนี้เป็นระยะสูงสุด/ต่ำสุดของพื้นที่ต่าง ๆ ภายในบ้านที่เราแนะนำ
• รถเข็นวีลแชร์โดยทั่วไปจะกินพื้นที่ประมาณ 75 ซม. x 120 ซม.
• พื้นที่ต่ำสุดของการใช้งานรถเข็นวีลแชร์มาตรฐานอยู่ที่ 150 ซม. x 150 ซม.
• ช่องทางเดิน และทางรถเข็นวีลแชร์ กว้างอย่างน้อย 90 ซม.
• ช่องประตูกว้าง 80 ซม.
• ระดับโต๊ะ หรือพื้นที่ทำงานสูง 70-80 ซม.
• ช่องว่างใต้โต๊ะสำหรับสอดเข่าเข้าไป 70-74 ซม.
• ความลาดเอียงสูงสุดสำหรับทางลาดเป็นอัตราส่วน 1:12
• ความลาดเอียงสูงสุดสำหรับพื้นที่ทั่วไป เช่นที่จอดรถ ทางรถ ซอย 1:48

ช่องบันได และช่องทางเดินร่วม

• ราวจับจะต้องติดตั้งอย่างแน่นหนา สามารถรับน้ำหนักของผู้ใช้งานได้ทั้งตัว และมีความสะดวกสบายในการจับ
• นั่นหมายความว่าจะต้องไม่ยึดด้วยสลัก หรือตะปูเกลียวกับส่วนที่เป็นปูนฉาบที่เปราะบาง ไม่สามารถรับน้ำหนักได้ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ก็ต้องมีคุณภาพได้มาตรฐานด้วย
• มีระยะห่างของราวจับ กับผนังเพียงพอเพื่อผู้ใช้งานจะสามารถใช้มือจับราวหรือแขนโอบราวได้โดยรอบ และทุกจุด
• ควรต่อความยาวของราวจับออกไปจากบันไดขั้นแรก และขั้นสุดท้ายเพื่อให้ความมั่นคงกับผู้ใช้งานก่อนขึ้น หรือลงบันได
• ให้ความสำคัญกับแสงสว่างบริเวณช่องบันได และทางเดินร่วม ควรมีแสงสว่างพอเพียง แต่ก็ควรหลีกเลี่ยงแสงจ้าหรือแสงสะท้อนที่มากเกินไป ส่วนที่เป็นเงามืดด้วย
• ควรให้บริเวณช่องบันได และทางเดินร่วมโล่ง ไม่มีสิ่งของเกะกะบนพื้นตลอดทางเดิน
• ขนาดและความชันของขั้นบันไดควรได้มาตรฐาน ลูกนอนบันไดควรจะกว้างพอให้วางได้เต็มฝ่าเท้า ไม่ต้องเกร็งหรือก้าวยาวเกินไป
• หลีกเลี่ยงการวางพรมเช็ดเท้า ผ้าเช็ดเท้า หรือวัสดุอื่นใดบริเวณบันไดขั้นแรก และขั้นสุดท้าย เพื่อป้องกันการสะดุด หรือลื่นหกล้ม

ในครัว

• ในครัวมักจะเป็นสถานที่ ที่มีปัญหามากเป็นพิเศษสำหรับผู้ใช้รถเข็นวีลแชร์ และผู้ใช้รถเข็นช่วยเดิน ควรออกแบบให้เหมาะกับการเคลื่อนที่ และความปลอดภัยเป็นอันดับหนึ่ง
• หน้าเคาน์เตอร์ รวมถึงเตาและเตาอบ จะต้องมีความสูงพอเหมาะ เท้าแขนของรถเข็นวีลแชร์ส่วนมากจะมีความสูงจากพื้นอยู่ที่ประมาณ 72 ซม. ในขณะที่หน้าโต๊ะมักจะมีความสูง 70-92 ซม.
• จำไว้ว่ารถเข็นวีลแชร์ จะไม่สามารถเข้าถึงเคาน์เตอร์ที่มีตู้อยู่ด้านล่างได้เลย
• ควรมีช่องว่างใต้โต๊ะ หรือเคาน์เตอร์อย่างน้อย 75-80 ซม. เพื่อให้ขาของผู้นั่งรถเข็นวีลแชร์สอดเข้าไปได้
• ต้องกำหนดตำแหน่งของหัวเตา และปุ่มเปิด-ปิดให้เหมาะสมกับผู้ใช้งาน
• การวางภาชนะ ปุ่มควบคุม หรือสิ่งต่าง ๆ จะต้องไม่ให้มีการเอื้อมมือข้ามเตาไฟ หรือบริเวณที่มีความร้อนไม่ว่าในก่อน ระหว่าง หรือหลังการทำอาหาร
• เตาอบแบบติดผนังจะเข้าถึงยากกว่าแบบตั้งพื้นทั่วไป
• การติดตั้งกระจกจะช่วยให้ผู้ใช้รถเข็นวีลแชร์ มองเห็นของที่อยู่ในหม้อ หรือกระทะขณะทำอาหารได้สะดวกมากขึ้น
• พิจารณาถึงความยากง่ายในการย้ายภาชนะที่ร้อน และหนัก(โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เป็นของเหลว) จากเตามายังโต๊ะ อาจจะทำเป็นทางลาดให้ลากหม้อ หรือกระทะแทนที่จะต้องยกขึ้น
• การเพิ่มก๊อกน้ำก็ช่วยลดการเคลื่อนย้ายภาชนะได้ การใช้สายฝักบัวก็มีประโยน์มากเช่นกัน
• อ่างล้างจานก็ไม่ควรมีก้นลึกมาก ควรให้ผู้ใช้รถเข็นวีลแชร์สามารถเอื้อมถึงก้นอ่างได้แม้ขณะนั่งอยู่บนรถเข็นรถเข็นวีลแชร์
• ก๊อกเปิดปิดน้ำควรใช้แบบคันโยกจะสะดวกกว่า
• ปรับความสูงของอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับผู้ใช้งาน ชั้นวางชั้นล่างสุดในตู้เย็นอาจจะต้องปรับให้สูงขึ้น
• ชั้นวางที่เลื่อนออกมาได้ หรือถาดหมุนก็ช่วยให้หยิบสิ่งของที่อยู่ลึกเข้าไปในตู้ได้ง่ายขึ้น
• ลิ้นชักควรมีความมั่นคง แม้จะถูกดึงออกมาจนสุด
• ตรวจดูว่าผิวพื้นไม่มีความลื่น
• ต้องแน่ใจว่ามีเครื่องดับเพลิงที่พร้อมใช้งาน อยู่ในตำแหน่งที่ง่ายต่อการหยิบใช้งานด้วย

ห้องน้ำ

• พื้นที่กว้างขวาง และมีความสะดวกในการเข้าถึงโถส้วม ที่อาบน้ำ อ่างล้างหน้า เป็นความสำคัญหลักสำหรับห้องน้ำผู้ใช้รถเข็นวีลแชร์
• พิจารณาไว้เสมอถึงความสูงของสุขภัณฑ์ต่าง ๆ เช่นโถส้วม อ่างล้างหน้า ชั้นวาง ควรปรับให้เหมาะสม
• ติดตั้งห้องน้ำแบบที่ให้รถเข็นวีลแชร์เข้าไปใช้ได้โดยสะดวก จะต้องไม่มีขอบยกระดับ หรือขั้นบันได
• ราวจับ แผ่นช่วยย้ายที่นั่ง เก้าอี้ และที่จับต่าง ๆ ต้องมั่นคง และแน่นหนาพอที่จะรับน้ำหนักผู้ใช้งานได้ทั้งตัว
• เลือกวัสดุปูพื้นอย่างระมัดระวัง เพื่อป้องกันการสะดุด หรือลื่นล้มขณะเข้าหรือออกจากห้องน้ำ และส่วนอาบน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพื้นเปียก ต้องระวังพรม หรือแผ่นเช็ดเท้าด้วยเช่นเดียวกัน
• ปุ่มกดชักโครก ก๊อกน้ำ หรืออุปกรณ์สุขภัณฑ์อื่นอาจใช้งานลำบากเมื่อผู้ใช้อยู่ในท่านั่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้ใช้งานมีความไม่สะดวกในการใช้มือ การใช้เซนเซอร์อัตโนมัติช่วยเปิดปิดน้ำ-ไฟ ก็จะช่วยให้มีความสะดวก ขึ้น
• ตรวจสอบตำแหน่งอุปกรณ์ประปาเช่นหัวก๊อก อย่าให้ยื่นเกะกะ เพื่อลดโอกาสที่จะเกิดการชน การกระแทก เกิดการบาดเจ็บได้

บริเวณรอบบ้าน และจุดเชื่อมต่อ

• ตรวจสอบองศาการเอียงของทางลาดทั้งภายใน และภายนอกบ้าน อัตราส่วน 1:12 (หรือความสูง 10 เซนติเมตร ต่อความยาวทางลาด 120 เซนติเมตร) หากทางลาดยาวเกิน 6 เมตร ควรมีชานพักยาวอย่างน้อย 1.5 เมตร

• ในทำนองเดียวกัน ราวจับก็จะต้องมีองศาเดียวกันกับทางลาดด้วย
• การลื่นไถล หรือสะดุดบนทางลาดเป็นอันตรายอย่างยิ่ง ควรใช้วัสดุปูพื้นที่ป้องกันการลื่นหากเป็นพื้นไม้ และควรใช้การตีเส้นแนวขวางหากเป็นพื้นคอนกรีต ทั้งนี้เพื่อป้องกันการลื่น
• ห้ามใช้พื้นที่เป็นกรวด ทราย บนทางลาด เพราะจะทำให้เกิดการลื่น และไม่สามารถบังคับรถเข็นวีลแชร์ได้ อาจล้มแล้วเกิดการบาดเจ็บรุนแรง
• ควรมีระบบระบายน้ำ เพื่อไม่ให้มีน้ำขังบนทางลาด เมื่อพื้นเปียกควรระบายน้ำให้แห้งได้โดยเร็ว
• ตรวจสอบทางลาดให้มีพื้นราบเรียบสม่ำเสมอ ไม่มีการสะสมของดิน ทรายที่จะทำให้ลื่น หรือสะดุด ไม่มีรอยแตก ทรุดของผิวทางลาด
• พื้นที่หน้าทางลาดทั้งสองฝั่งต้องไม่มีสิ่งกีดขวางใด ๆ
• ต้องไม่มีคาน ซุ้มประตูหรือสิ่งกีดขวางในทางสูง

ระบบป้องกันไฟไหม้


• การป้องกันไฟไหม้ เป็นสิ่งที่จำเป็นมากสำหรับผู้ใช้รถเข็นวีลแชร์ หรือรถเข็นช่วยเดิน
• จะต้องอธิบายแผนการอพยพหากเกิดไฟไหม้ให้กับผู้ใช้รถเข็นวีลแชร์อย่างละเอียด และเจาะจง ทั้งเส้นทางการหนีไฟ และอุปกรณ์ที่จำเป็น ต้องกำหนดจุดที่ปลอดภัยเพื่อรอความช่วยเหลือ
• แผนการอพยพต้องทำทันที ไม่ใช่การรอเจ้าหน้าที่กู้ภัยมาถึงก่อนจึงทำการอพยพ
• ทางหนีไฟควรอยู่ใกล้กับบริเวณที่ผู้ใช้รถเข็นวีลแชร์ ใช้ชีวิตประจำวันส่วนใหญ่อยู่ในบริเวณนั้น
• ต้องเคลียร์ทางเดิน เส้นทางหนีไฟ หน้าประตู และหน้าทางลาดให้สะอาด ไม่มีสิ่งกีดขวางอยู่ตลอดเวลา
• ระลึกไว้เสมอว่าการใช้ลิฟต์เป็นสิ่งต้องห้าม เว้นแต่ลิฟต์นั้นเป็นชนิดพิเศษมีความปลอดภัยสำหรับใช้ในเวลาอพยพหนีไฟได้เท่านั้น
• ผู้ช่วยเหลือ และหน่วยกู้ภัยต้องได้รับการแจ้งให้ทราบเสมอเมื่อจะเข้าไปในอาคารที่มีผู้ใช้รถเข็นวีลแชร์อยู่ในอาคารนั้น
• เจ้าของบ้าน หรือเจ้าของอาคารต้องติดตั้งสัญญาณเตือนภัย และสิ่งอำนวยความสะดวกในการอพยพ รวมถึงสัญญาณไฟไหม้ ป้ายทางหนีไฟ ไฟฉุกเฉิน และต้องดูแลให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ตลอดเวลา
• แน่ใจว่าผู้รับผิดชอบทุกคนในสถานการณ์ฉุกเฉินทุกกรณี เข้าใจวิธีการปฏิบัติตัวอย่างถ่องแท้

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++