fbpx

แก้ไขปัญหานอนไม่หลับ(ของผู้สูงอายุ)ภายใน3วัน

แก้ไขปัญหานอนไม่หลับ(ของผู้สูงอายุ)ภายใน3วัน

อาการนอนไม่หลับ… ไม่ได้พบในผู้สูงอายุอย่างเดียวในบุคคลทั่วไปก็มีปัญหานอนไม่หลับเช่นเดียวกัน มักจะชอบนอนหลับไม่สนิท หลับๆตื่นๆ ตื่นขึ้นมากลางดึกหรือไม่ก็ตื่นเช้ากว่าปกติ เมื่อตื่นขึ้นมาก็นอนต่อยาก ต้องลุกขึ้นมาทำโน้นทำนี้ ซึ่งปัญหาเหล่านี้นอกจากสร้างความรำคาญใจกับผู้สูงอายุแล้วยังรบกวนสมาชิกภายในบ้านที่กำลังนอนอยู่ด้วย


สาเหตุของการนอนไม่หลับอาจเกิดได้หลายสาเหตุ
  • การนอนกลางวันที่มากเกินไป
  • ไม่ค่อยได้ออกกำลังกายหรือใช้แรงงาน
  • อาการเคลียดหรืออาการวิตกกังวลต่างๆ
  • เตียงนอนหรือที่นอนไม่สบาย
  • อากาศร้อนหรือหนาวเกินไป
  • เสียงและแสงสว่างรบกวน
  • มีปัญหาทางร่างกายที่รบกวนการนอน เช่น อาการปวดหลัง ผู้ป่วยเบาหวานที่ต้องลุกขึ้นปัสสาวะบ่อยๆ
หลักการวิเคราะห์อาการนอนไม่หลับ 
  • ประเมินลักษณะการนอนว่านอนประมาณกี่ชั่วโมง โดยปกติผู้สูงอายุควรนอนอย่างน้อย 4-6 ชั่วโมง
  • ประเมินด้าน “คุณภาพ” หรือ “ปริมาณ” การนอนโดยการให้ผู้สูงอายุลองนึกเปรียบเทียบดูว่า ช่วงที่รู้สึกว่าหลับไม่ดีเป็นช่วงไหน เช่น นอนหลับไม่ดีช่วงต้น นอนกลิ้งไปกลิ้งมาอยู่นานกว่าจะหลับ(แสดงถึงปริมาณที่นอนไม่พอ) หรือนอนไม่หลับช่วงท้ายคือหลับนานแล้วตื่นขึ้นมาแล้วจะนอนไม่หลับช่วงดึกๆจนกระทั่งสว่าง(แสดงถึงคุณภาพการนอนที่ไม่ดี)
  • ประเมินความรุนแรงของปัญหาการนอนไม่หลับที่เกิดขึ้นต่อว่า “อะไรที่เป็นสาเหตุทำให้เรานอนไม่หลับ” เช่น ที่นอน หมอนสูงเกินไป อากาศร้อน เป็นต้น
 แนะนำสุขลักษณะการนอนที่ดี ช่วยให้นอนหลับง่าย 
  • เข้านอนและตื่นนอนให้เป็นเวลา
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ แต่ไม่ควรออกกำลังกายก่อนนอน และเมื่อออกกำลังกายให้พอเมื่อยไม่ต้องถึงกับเหนื่อยมากจะช่วยทำให้หลับง่ายขึ้น
  • จัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม หลีกเลี่ยงเสียงดัง อากาศร้อน มียุง
  • ทำจิตใจให้สบายก่อนนอน หลีกเลี่ยงสิ่งที่กระตุ้นจิตใจ
  • หลีกเลี่ยงการใช้สมาร์ทโฟนก่อนนอน
  • หากนอนไม่หลับเกิน 30 นาที ให้ลุกจากเตียงทำกิจกรรมอะไรก็ได้จนง่วง แล้วจึงเข้านอนใหม่อีกครั้ง
  • งดการใช้สารกระตุ้นต่อจิตประสาท เช่น สุรา กาแฟ น้ำอัดลม ก่อนนอน
  • ไม่นอนหลับในเวลากลางวันแต่สามารถงีบได้วันละ 1 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 1 ชั่วโมง ไม่ควรงีบหลับหลัง 15.00 น.
  • หากิจกรรมให้ผู้สูงอายุทำในเวลากลางวัน เช่น การปลูกต้นไม้ การทำอาหารหรือขนม เป็นต้น
  • เป็นที่ปรึกษา คอยปลอบโยนไม่ให้ผู้สูงอายุเคลียดหรือวิตกกังวล
  • รักษาอาการป่วยทางกายให้ทุเลา
  • หากอาการนอนไม่หลับไม่ทุเลาลง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อการบำบัดต่อไป

ทางเลือกเพิ่มเติม แก้อาการนอนไม่หลับภายใน3วัน 
  • การดื่มชา

ชาที่ควรดื่มก่อนนอน แน่นอนว่าคุณต้องมองหาชาที่ไม่มีส่วนผสมของ คาเฟอีน (Caffeine) นอกจากนั้นยังอาจพบสมุนไพรและผลิตภัณฑ์ที่มาจากธรรมชาติอีกหลายชนิด และนี่คือชนิดของชาที่ควรดื่มก่อนนอน

ชนิดของชา สรรพคุณ
ชาคาโมมายล์ ช่วยลดอาการอักเสบ ลดอาการวิตกกังวล ดอกคาโมมายล์จัดเป็นยากล่อมประสาทอ่อนๆสำหรับแก้อาการนอนไม่หลับอีกด้วย
วาเลอเรียน เป็นสมุนไพรที่ใช้บรรเทาอาการนอนไม่หลับมาเป็นเวลานาน ช่วยลดอาการวิตก และอาการเศร้า แต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทานเพื่อไม่ให้ไปรบกวนกับยาที่รับประทานอยู่
แคตนิป หรือ กัญชาแมว เป็นพืชตระกูลเดียวกับมินต์และใบสาระแหน่  ซึ่งมีสารอินทรีย์ที่ช่วยเรื่องของ การนอนไม่หลับ ส่งเสริมการพักผ่อน และอาการง่วงนอน
ชาลาเวนเดอร์ มีกลิ่นทีช่วยทำให้ผ่อนคลาย ดังนั้นกลิ่นจะทำให้นอนหลับง่ายขึ้น
ชาเลมอน บาล์ม เป็นสมุนไพรที่มีกลิ่นหอมและำให้รู้สึกผ่อนคลาย เมื่อดื่มก่อนนอนจะทำให้นอนได้ง่ายขึ้น
ชาเสาวรส ทุกส่วนของเสาวรสมีสรรพคุณช่วยบรรเทาความวิตก และทำให้คุณภาพการนอนหลับดีขึ้น
เปลือกแมกโนเลีย แมกโนเลียถูกนำมาใช้ในทางการแพทย์แผนจีน เพื่อบรรเทาอาการต่างๆ รวมถึงความรู้สึกไม่สบายท้อง คัดจมูก และลดความเครียด
ชาขิง ชาขิงนั้นอาจจะสามารถช่วยให้บรรเทาอาการปวดท้องและ ช่วยให้คุณ นอนหลับ ได้ดียิ่งขึ้น
  • เสียงเพลงบำบัด

เสียงดนตรีจะช่วยทำให้ราผ่อนคลายทำให้เราหายใจช้าลง ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ลดความเครียดและความกังวล รวมถึงยังกระตุ้นฮอร์โมนเซโรโทนินและออกซิโทซิน ช่วยลดฮอร์โมนคอร์ติซอลแห่งความเครียดที่ทำให้นอนไม่หลับ ซึ่งเพลงที่เปิดควรจะเป็นเพลงที่ฟังแล้วผ่อนคลาย มีความถี่ต่ำ ไม่มีเนื้อร้อง โดยในขณะนอนหลับร่างกายของเราจะรับรู้ถึงดนตรี และปรับสภาพร่างกายตามที่กล่าวไว้ด้านบน ช่วยทำให้หลับได้ง่ายขึ้นนั่นเอง ยกตัวอย่างจาก Youtube เช่น Jacob’s PianoMaxRichterMusic,ThePianoGuys,YirumaVEVO

  • เทียนหอม

เพราะกลิ่นหอมของเทียนสามารถช่วยทำให้ลดความเคลียด ความวิตก ทำให้รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น ปัจจุบันเทียนหอมมีหน้าตาที่สวยงามยังสามารถนำมาตกแต่งห้องนอนได้อีกด้วย

หากเตียงหรือที่นอนทำให้รู้สึกไม่สบายตัวแน่นอนว่าเป็นปัญหากับการนอนไม่หลับอย่างแน่นอน แต่เตียงธรรมดาทั่วไปก็ยังไม่สามารถตอบโจทย์กับผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยได้ดังนั้นเตียงนอนปรับไฟฟ้าถือเป็นทางเลือกที่ดี ที่จะสามารถช่วยทำให้อาการนอนไม่หลับในผู้สูงอายุและผู้ป่วยบรรเทามากขึ้น นอกจากจะช่วยปัญหานี้แล้ว เตียงนอนปรับไฟฟ้ายังให้ความสะดวกสบายกับผู้ใช้งานอีกด้วย