fbpx

20เทคนิค สร้างบ้านให้ผู้สูงอายุ อยู่สบายกาย สุขใจ

20เทคนิค สร้างบ้านให้ผู้สูงอายุ อยู่สบายกาย สุขใจ

ปี 2563 ประเทศไทยมีผู้สูงอายุ 12 ล้านคน (ร้อยละ 18) เข้าข่ายสังคมผู้สูงอายุ (มีประชากรที่อายุมากกว่า 60ปีขึ้นไป เป็นสัดส่วนเกิน 10%) และในอีก 1-2ปีข้างหน้าคาดว่าประเทศจะเข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มรูปแบบ” (ประชากรอายุมากกว่า 60ปี เป็นสัดส่วนมากกว่า 20%) ผลที่ตามมามากมายไม่ว่าจะเป็นเชิงทางเศรษฐกิจ-ผู้สูงอายุไม่สามารถทำงานได้เหมือนวัยแรงงาน และ อื่นๆมากันมาอีกมากมาย แต่ในบทความนี้เรามามองอีกด้านครับ เราจะสร้างบ้านอย่างไรให้เหมาะกับผู้สูงอายุ โดยเฉพาะคนที่เรารัก พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย เมื่อพวกท่านอายุมากขึ้นการเดินเหินไม่สะดวก อาจจะต้องใช้เตียงปรับระดับผู้ป่วย หรือ ต้องใช้ Wheelchair หรือ รถเข็นไฟฟ้า เนื่องจากการเดินเหินไม่สะดวก

แนวทางที่ควรคำนึงอันดับหนึ่งของการสร้างหรือที่พักให้ผู้สูงอายุเลย 4S (โดยผู้เขียนบทความ elife)
– Safety ร่างกายผู้สูงอายุไม่แข็งแรงเหมือนก่อน ต้องลดความเสี่ยงทุกอย่างที่อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุ
– Sustainable ออกแบบเพื่อให้ท่านอยู่อย่างสุข สบาย ที่สำคัญต้องดูแลรักษา ง่ายเพิ่งพาตัวเองได้ (ผู้สูงอายุบางท่านอยู่กันเอง ลูกหลาน/คนดูแล อาจจะไปหาบ้าง)
– Smart เดี๋ยวนี้เทคโนโลยี สามารถเข้าช่วยเหลือได้เยอะ เช่น สัญญาณขอความช่วยเหลือ, ไฟเปิดปิดอัตโนมัติเมื่อเข้าห้องน้ำ, รถเข็นไฟฟ้า, เตียงไฟฟ้า, Sensor ต่างๆ เป็นต้น
– Smooth ทุกอย่างความไร้รอยต่อไม่สะดุดทั้งระดับพื้น และ ส่วนต่างๆในบ้าน ควรลดทางต่างระดับให้น้อยที่สุด, ขอบ มือจับตามๆควรมน

เราสรุปเทคนิคต่างๆ มาจำนวน 20 ข้อดังนี้

  1. ให้ผู้สูงอายุอยู่ชั้นล่าง ลดพื้นที่ต่างระดับให้มากที่สุด หากมีบ้านเดิมอยู่แล้วควรปรับชั้นล่างเป็นที่อยู่ของผู้สูงอายุ ทำระดับพื้นให้เท่ากัน หากเป็นไปได้ให้ปูพื้นใหม่เป็นวัสดุมีพื้นผิวป้องกันไม่ให้ลื่น หากสร้างใหม่ควรออกแบบให้บ้านชั้นหนึ่งไม่มีพื้นที่ต่างระดับ พื้นที่บ้านต่อเนื่อง Flow เชื่อมต่อกัน

    พยายามสร้างพื้นที่ให้ต่อเนื้องกัน ทางต่างระดับให้น้อยที่สุด
  2. กรณีมีพื้นที่ต่างระดับสร้างทางลาดชันให้สำหรับ Wheelchair, รถเข็นไฟฟ้า โดยปกติทางลาดสำหรับวีลแชร์นั้นมีมาตรฐานคือ 1:12 เช่นพื้นต่างระดับกัน 10 cm ทางลาดนั้นต้องมีฐาน 120cm เพื่อความปลอดภัยในกรณีเข็น Wheelchair ขึ้นเอง หรือ แม้กระทั้งใช้รถเข็นไฟฟ้า ความกว้างของทางชันควรจะกว้างประมาณ 90cm ตามมาตรฐาน หรือ 80cm เป็นอย่างน้อย(ธรรมดา ความกว้างฐานล้อ Wheelchair จะอยู่ราว 65-75cm กรณีถ้าพื้นต่างระดับกันมาก ให้มีราวจับด้วย ราวจับ 80-90cm
  3. เรื่องไฟ ส่องสว่าง ความสว่างของตัวบ้าน ลดการหกล้มในผู้สู้อายุ แนะนำเป็นการซ่อนไฟตามทางเดิน, บันได, ห้องน้ำ และ พื้นที่ต่างระดับ

    ติดไฟส่องสว่าง เผื่อกลางคืน และตอนนอนหลับ
  4. ความกว้างของประตู และ ทางเดินกว้าง 90cm  คิดในเว้นระยะให้ขนาดประตู และทางเดิน สำหรับ Wheelchair
  5. ยึดการ Design กลับสู่ธรรมชาติ Universal design การใช้งานกับคนแก่ รวมถึงบางครั้งผู้ใช้งานบางคนอาจจะมีลักษณะพิเศษเฉพาะตัวอย่างการ Customized ดูจากตัวอย่าง IKEA แจกไฟล์ 3มิติ เพื่อให้ลูกค้าเอาไปพิมพ์ประกับเฟอร์นิเจอร์ของตน 
  6. มือจับ เป็นด้ามจับประตู เป็นแบบด้าม ใช้มือ ศอก หรือไม้เท้าเปิดได้  หลีกเลี่ยงการใช้ลูกบิด หรือ งาน Design ที่สวยแต่ใช้งานยาก

    มือจับลูกบิด ควรจะหลีกเลี่ยง, มือเปิดที่มีลักษณะเป็นก้าน จะดีกว่า คนแก่ใช้งานได้ง่ายกว่า
  7. ตู้, ประตู และหน้าต่าง ควรติดตั้งแบบบานเลื่อน ที่จัดเก็บของ ควรเลือกเป็นแบบบานเลื่อน เพื่อผู้สูงอายุสามารถใช้งานได้ง่าย ทั้งยังใช้ได้ กับ Wheelchair

    การสร้างประตูบานเลื่อน ง่ายต่อผู้สูงอายุมากกว่า
  8. หน้าต่าง ควรสร้างให้สูงไม่มากกว่า 50cm ผู้สูงอายุสามารถเห็นวิวได้ขณะที่นั่ง Wheelchair ได้
  9. ออกแบบพื้นที่ให้มีการถ่ายเท ของอาการดี ผู้สูงอายุเสี่ยงกับโรคทางเดินหายใจ อาจจะติดเครื่องปรับอากาศ เครื่องกรอกอากาศที่เหมาะสม
  10. ปุ่มฉุกเฉิน เพื่อกดเรียกคนให้มาช่วยเหลือ Emergency Call เหตุไม่ความฝันสามารถเกิดขึ้นได้เสมอ การติดปุ่มขอความช่วยเหลือฉุกเฉิน เป็นสิ่งที่ควรมองข้าม
  11. ทางเข้าบ้าน ทำทางลาดสำหรับเข้าบ้านโดยยึกหลัก 1:12 เช่นหากทางต่างระดับกัน 1 เมตรให้ทางลาดมีฐาน 12เมตร โดยให้ดีทางลาดควรมีความกว้าง 90cm กรณีที่มีความยากทางลาดมากควรมีชานพัก และมีราวกั้น สูง 80-90cm
  12. ห้องน้ำ ถ้าทำห้องน้ำใหม่ให้ทำห้องน้ำให้กว้างซักหน่อย สำหรับวีลแชร์ วัตถุพื้นความมีพื้นผิวสัมผัส หรือปูยางกันลื่นในส่วนเปียก เลือกสุขภัณฑ์ที่มีความโค้งมน มีราวจับ
    ตัวอย่าง การออกแบบห้องน้ำจาก SCG Elder Care

    ด้านซ้ายติดราวจับให้ผู้สูงอายุ ด้านขวา พื้นระดับเดียวกันระหว่างส่วนเปียกและส่วนแห้ง โดยให้การแซะร่องเป็นที่ระบายน้ำแทน
  13. ห้องนอน ต้องมีพื้นที่ข้างเตียง ห้องนอนควรเผื่อพื้นที่ด้านข้าง 90cm สำหรับ Wheelchair และ ผู้ดูแลสามารถช่วยเหลือได้ เช่นการอุ้ม คนชรา, การป้อนอาหาร หรือ ดูแลทำความสะอาด ห้องนอนกับห้องน้ำควรอยู่ติดกันไม่มีควรออกแบบให้ไม่มีธรณีกั้นระห่างห้องทั้งสอง ลดการสะดุดล้ม และสามารถใช้ Wheelchair เข้าไปในห้องน้ำได้เลย
  14. ห้องครัว ผู้สูงอายุที่ยังช่วยเหลือตัวเองได้อยู่ยังใช้ห้องครัวในการทำอาหาร รับประทานอาหาร ควรออกแบบเลือกซื้อโต๊ะที่มีความสูงมากกว่า 80cm สำหรับ Wheelchair เคาท์เตอร์ครัวควรมีความสูง 80cm
  15. ห้องนั่งเล่น เลือกเฟอร์นิเจอร์ที่โปร่งโล่ง ดูอบอุ่น โดยเฉพาะผิวสัมผัสควรจะโค้งมน ลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุ ตำแหน่งการวางที่เป็นระเบียบ

    ออกแบบห้องให้สามารถอยู่ด้วยกันระหว่างคนในครอบครัว กับผู้สูงอายุ
  16. สวน เป็นส่วนพักผ่อนหย่อนใจของผู้สูงอายุ ควรออกแบบทางเดินของส่วนเป็นพื้่นที่เรียบ (อาจจะวางเป็นอิฐเว้นระยะ หรือ ปูด้วยแผ่นพลาสติก สแลทรองพื้นสวน) พืชที่ปลูกควรเป็นทรงเตี้ย (ไม่แนะนำต้นไม้ใหญ่จะจ้า) หรือ อาจจะใส่ในกระบะ เลยก็ได้
    ปลูกพื้นในกระบะ ก็ได้เช่นกัน

    ความสุขอย่างหนึ่งของผู้สูงอายุคือการปลูกต้นไม้เช่นกัน
  17. พื้นและวัตถุที่ใช้ปูพื้น ควรเป็นวัสดุที่มีผิวสัมผัส ไม่ควรเป็นวัสดุมันเงา อาจทำให้ลื่น พรมอาจเป็นตัวเลือกแต่อาจจะไม่เหมาะกับเมืองไทยมีเรื่องฝุ่นและทำความสะอาดยาก แนะนำอาจจะใช้เป็นพื้นไม้ลามิเนต หรือ เนื้อไม้จริงก็ไม่ว่ากัน

    เลือกวัตถุปูพื้นก็เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับ การสร้างบ้านให้คนแก่
  18. กรณีต้องมีบันได ให้ราวจับที่ปลอดภัย ควรมีที่พัก หรือ วางเก้าอี้ให้พักได้
  19. พยายามให้เปิดโลงที่สุดเท่าที่ทำได้ กรณีมีเรื่องไม่คาดฝัน ผู้ดูแลสามารถเห็นได้ ช่วยเหลือได้ทันถ่วงที
  20. ทำเลที่ตั้งใกล้โรงพยาบาล ข้อสุดท้ายนี้ที่เอามาเป็นอันสุดท้ายเพราะว่าบางครั้งเราไม่สามารถเลือกได้ หากสามารถเลือกได้อันนี้เป็นส่วนสำคัญเลยที่เดียว หากเลือกไม่ได้ควรติดเบอร์โรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุดไว้ สามารถติดต่อได้ทันท่วงที

นอกจากที่กล่าวไว้ข้างต้นแล้วทาง อุปกรณ์รถเข็นผู้ป่วย หรือ วีลแชร์ไฟฟ้า ก็เป็นส่วนหนึ่งในการอำนวยความสะดวก ใช้ในชีวิตประจำวันได้



  • เตียงไฟฟ้าก็เป็นส่วนหนึ่งทีอำนวยความสะดวกผู้สูงอายุเช่นกัน เช่น สามารถลูกขึ้นนั่งได้เอง เนื่องจากมีปรับให้เตียงตั้งตรงได้, สามารถดู TV หรือ เปลี่ยนท่าของร่างกายได้