fbpx

เตียงไฟฟ้าปรับระดับ ไม่ป่วยใช้ได้ไหม? จะเป็นลางหรือเปล่า?

เตียงไฟฟ้าปรับระดับ ไม่ป่วยใช้ได้ไหม? จะเป็นลางหรือเปล่า?

เตียงปรับระดับไฟฟ้า ไม่ป่วยใช้ได้ไหม? จะเป็นลางหรือเปล่า?

“ไม่ป่วยห้ามนั่งนะ!”

“ไม่ได้เป็นห้ามใช้นะ!”

“มันเป็นลางไม่ดี ว่าจะได้ใช้ในอนาคต”

คนไทยหลายคนจะต้องเคยได้ยินประโยคแบบนี้มาแล้วอย่างน้อย 1 ครั้งในชีวิต เวลาที่เราไปเยี่ยมคุณตาคุณยายแล้วลองหยิบไม้เท้ามาเล่น หรือตอนที่เราไปโรงพยาบาลแล้วบอกแม่ว่าอยากนั่งรถเข็นให้แม่เข็น สิ่งที่จะตามมาก็คือประโยคข้างต้นที่กล่าวไป หรือเผลอๆอาจจะเป็นการโดนเอ็ดยกใหญ่เลยด้วยซ้ำ สิ่งเหล่านี้หลายคนคิดว่าเป็นเหมือนความเชื่อที่มีมานาน เป็นเรื่องจริงตามที่ผู้ใหญ่บอก กลายเป็นเรื่องน่ากลัวปนความเชื่อไปในที่สุด

ซึ่งจริงๆแล้วสิ่งเหล่านี้อาจจะเป็นแค่ “กุศโลบาย” ของผู้ใหญ่ที่ใช้ห้ามไม่ให้เด็กเล่นของพวกนี้ก็ได้ และเมื่อเด็กโตขึ้นโดยที่ไม่ได้แก้ไขความเข้าใจให้ถูกต้อง และข้อความเหลล่านี้ถูกถ่ายทอดผ่านคนรุ่นแล้วรุ่นเหล่าจนกลายเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนไปอย่างในปัจจุบัน เพราะไม่หลักฐานทางวิทยาศาสตร์หรือลายลักษณ์อักษรใดๆสามารถพิสูจน์เรื่องเหล่านี้ได้ว่ามีความเชื่อมโยงและเป็นเหตุผลมากพอจะทำให้คำกล่าวข้างต้นเป็นจริง แถมการนอนบนเตียงที่ดีต่อสุขภาพ ทำไมจะกลายเป็นลางไม่ดีล่ะ? สรุปคือ “คนไม่ได้ป่วย และลองใช้ของใช้คนป่วย ไม่ได้เท่ากับอนาคตจะต้องป่วยตาม”

EB-55 เตียงไฟฟ้า ปรับระดับได้ 5ไกร์ โครงโลหะกรุวัสดุไม้EB-55 เตียงไฟฟ้า ปรับระดับได้ 5ไกร์ โครงโลหะกรุวัสดุไม้EB-55 เตียงไฟฟ้า ปรับระดับได้ 5ไกร์ โครงโลหะกรุวัสดุไม้EB-35 เตียงไฟฟ้า ปรับระดับได้ 3ไกร์

ยกตัวอย่าง เตียงนอนสุขภาพปรับระดับไฟฟ้า หลายคนอาจจะคิดว่ามีไว้สำหรับผู้ป่วยเท่านั้น หรือสำหรับผู้สูงอายุติดเตียงเท่านั้น ซึ่งจริงๆแล้วเตียงสุขภาพเหล่านี้สามารถใช้ได้ทั้งในวัยรุ่น คนวัยทำงาน คนที่ต้องการปรับการนอน มีปัญหาการนอนไม่ถูกหลัก หรือผ่านการเข้ารับการผ่าตัดมาไม่สามารถนอนในท่าปกติได้ ซึ่งก็ยังคงรวมไปถึงผู้สูงอายุที่มีปัญหาการลุกจากที่นอนและผู้ป่วยติดเตียงด้วย

ประโยชน์ของเตียงปรับระดับไฟฟ้าแบรนด์ Elife

  • ไกร์ที่ 1 การปรับพนักพิงได้ 0-70องศาการปรับพนักพิงลักษณะนี้เพื่อให้ผู้สูงอายุในเปลี่ยนอริยบทจากท่านอนเป็นท่านั่งบ้าง ทำเองได้เลยโดยไม่ต้องมีคนพยุง ใช้สำหรับนั่งทานข้าว อ่านหนังสือ พบปะพูดคุยกับลูกหลาน และหากสลับตำแหน่งหัวนอนมายังฝั่งขาและขาไปฝั่งพนักพิงสามารถวางขาและปรับพนักพิงขึ้น 70องศาเพื่อลดอาการปวดเมื่อยบริเวณเข่า ช่วยให้ระบบหมุนเวียนทำได้ดีขึ้น สาเหตุที่เตียงสามารถปรับได้เพียง 70องศาไม่ถึง90องศา นั่นเพราะองศาของ 90เป็นระดับที่ตรงมากเกินไปเมื่อผู้สูงอายุนั่งทำให้เกิดการปวดเมื่อย ไม่เหมาะกับการพักผ่อน
  • ไกร์ที่ 2 การปรับพนักขาให้ชันขึ้น 0-30องศา เป็นการเปลี่ยนอริยบทบริเวณขา ช่วยให้ระบบหมุนเวียนเลือดบริเวณน่อง เข่า ลดอาการปวดเมื่อยและลดการกดทับ
  • ไกร์ที่ 3 การปรับไกร์ 1-2พร้อมกัน การปรับ2ไกร์นี้พร้อมกันทำให้ส่วนหลังและขามีความสมดุลกันมากที่สุด สะดวกมากขึ้นเมื่อปรับขึ้นและปรับลง
  • ไกร์ที่ 4 การปรับระดับสูง-ต่ำ เป็นการปรับความสูงเตียงให้อยู่ในระดับที่พอดีกับผู้สูงอายุ เมื่อนั่งหรือกำลังลุกขึ้นจากเตียงเท้าจะติดพื้นมากที่สุด เพื่อให้ผู้สูงอายุรู้สึกมั่นคงป้องกันการล้ม และนอกจากนี้การปรับสูง-ต่ำยังเป็นประโยชน์กับผู้ดูแลหากคนใช้งานเป็นผู้ป่วย โดยที่คนดูแลไม่จำเป็นต้องก้มเงยบ่อยๆขณะเปลี่ยนเสื้อผ้า ทำความสะอาดร่างกาย
  • ไกร์ที่ 5 การปรับระนาบ 0-12 องศา เป็นการปรับให้เตียงเอียงเพื่อได้มองเห็นทัศนียภาพชัดขึ้น ได้ปรับเปลี่ยนอริยบท

ส่วนประกอบสำคัญของเตียงสุขภาพไฟฟ้าที่ดีควรมี

อย่างที่บอกว่า เตียงไฟฟ้า เป็นเตียงสุขภาพที่ออกแบบพิเศษดังนั้นส่วนประกอบหลายๆอย่างที่เพิ่มขึ้นจะเป็นสิ่งที่เตียงนอนธรรมดานั่นไม่มี มาดูกันค่ะว่า เตียงไฟฟ้า ที่ดีควรมีสิ่งสำคัญอะไรบ้าง

1. มอเตอร์ไฟฟ้า เป็นหัวใจสำคัญที่สุดของเตียงไฟฟ้า เตียงไฟฟ้าที่ดีจะมีมอเตอร์ที่ทำงานเงียบ,สมูท,ไม่กระชากและตอบสนองทันที ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อควรตรวจสอบที่มาของมอเตอร์ให้แน่ชัดก่อนว่าผลิตจากที่ไหน แบรนด์น่าเชื่อถือหรือไม่หากเป็นไปได้ควรเลือกมอเตอร์ไฟฟ้าที่เป็นเกรดเดียวกับอุปกรณ์การแพทย์เป็นหลัก เพื่อความปลอดภัยกับคนใช้งาน

2. ราวกั้นกันตกเตียง มีไว้สำหรับป้องกันผู้สูงอายุตกเตียง สามารถปรับขึ้นลงได้ตามต้องการ วัสดุส่วนใหญ่จะเป็นเหล็ก ไม้และอลูมิเนียมที่มีทั้งแบบยาวครอบเตียงและแบบแบ่งครึ่งตอนขึ้นอยู่กับดีไซน์ของเตียงรุ่นนั้นๆ ลักษณะราวกั้นเตียงที่ดีควรมีโครงสร้างที่แข็งแรงพอที่จะสามารถรับน้ำหนักของคนใช้งานได้และดีไซน์ไม่ควรเลือกที่มีช่องว่างขนาดกว้างเกินไป เพราะอาจเกิดอุบัติเหตุอวัยวะเข้าไปติดเช่น ศีรษะ ควรเลือกราวที่มีช่องว่างมีความถี่และเป็นทางแนวนอน

  • ประโยชน์ของราวกั้นเตียงที่เตียงนอนธรรมดาไม่มี ที่นอกจากเป็นราวให้ความปลอดภัยขณะนอนหลับแล้วยังสามารถเป็นฐานค้ำที่ช่วยพยุงให้สูงวัยได้ลุก-นั่งออกจากเตียงได้สะดวก
  • ราวกั้นแบบไหนเหมาะกับใคร ? ราวกั้นแบบยาวเป็นแบบเริ่มต้นที่เตียงไฟฟ้าส่วนใหญ่มีมาอยู่แล้ววัสดุอาจจะเป็นไม้หรือเหล็ก สามารถปรับขึ้นลงได้หัวและท้ายเมื่อปรับระดับราวจะค่อยๆ slope ลงเพราะเป็นราวแบบชิ้นเดียว เหมาะสำหรับผู้สูงอายุที่ใช้กั้นอย่างเดียวและไม่ต้องการให้มีส่วนยื่นออกจากเตียงเยอะมาก แบบต่อมาจะเป็นแบบ 2ตอนเป็นที่นิยมดีไซน์สวยเพราะส่วนหัวและท้ายจะแยกออกเป็น 2ชิ้น มักเป็นวัสดุเหล็กและอลูมิเนียมส่วนใหญ่ใช้วางในตำแหน่งที่ผู้สูงอายุใช้ลุก-นั่งเป็นประจำ (หรือฝั่งที่ถนัด) เมื่อนำส่วนท้ายลงสามารถใช้ราวส่วนบนเป็นที่ค้ำได้ เหมาะสำหรับผู้สูงอายุที่ต้องการฐานค้ำเวลาลุกนั่ง ดีไซน์จะดูเป็นธรรมชาติมากขึ้น

3. ไฟใต้เตียง เป็นหนึ่งในฟังก์ชันที่ผู้สูงอายุควรมีเพราะสูงวัยต้องการแสงสว่างที่มากเพียงไม่ว่าจะกลางวันหรือกลางคืนยิ่งในเวลากลางคืนยิ่งต้องสว่างเป็นพิเศษ ควรมีแสงสว่างเพียงที่ให้ผู้สูงอายุสามารถมองเห็นและสามารถเดินเข้าห้องน้ำในตอนมืดได้ บางท่านอาจแก้ปัญหาโดยการเปิดไฟทิ้งไว้ทั้งคืนแบบนั้นอาจไปรบกวนสมาชิกภายในบ้านได้

4. บาร์พยุง อุปกรณ์เสริมสำคัญอย่างนึงที่หลายคนมองข้ามเพราะเป็นส่วนที่ทำให้เตียงไฟฟ้าเหมือนเตียงผู้ป่วยมากที่สุดแต่ประโยชน์ของบาร์พยุงคือมีไว้สำหรับให้ผู้สูงอายุออกกำลังในเตียงนอน บริหารกล้ามเนื้อต่างๆได้หรือบางท่านอาจนำไปประยุกต์ใช้สำหรับแขวนถุงอาหารหรือน้ำเหลือสำหรับผู้ป่วย ปัจจุบันเตียงไฟฟ้าบางรุ่นออกแบบให้บาร์พยุงสามารถถอดเข้า-ออกได้ตามต้องการ สามารถนำมาใส่เฉพาะเวลาที่ต้องการใช้งานได้

5. โครงสร้าง ถึงจะเริ่มพัฒนามาเป็นโครงสร้างกรุแบบไม้แล้วแต่โครงล่างเตียงจำเป็นต้องเป็นเหล็กเพื่อความแข็งแรงเพียงพอที่จะรองรับน้ำหนักของคนใช้งานได้อย่างปลอดภัย ซึ่งเตียงไฟฟ้าสุขภาพโดยทั่วไปจะสามารถรับน้ำหนักได้ 150กิโลกรัมขึ้นไป

“เมื่อรู้แบบนี้แล้ว จะรออะไรอยู่ อย่าให้กุศโลบายเก่าๆ มาคอยหลอกเรา ไปหาเตียงปรับระดับไฟฟ้าดีๆสักตัวมานอนกันเถอะ”