fbpx

แผลกดทับคืออะไร ??

แผลกดทับคืออะไร ??

แผลกดทับ (pressure sores)

แผลกดทับ คือบริเวณผิวหนังและกล้ามเนื้อที่เกิดความเสียหาย สามารถเกิดขึ้นได้ในเวลาไม่กี่ชั่วโมงแต่ ส่งผลกระทบเป็นระยะเวลานานหลายเดือนและอาจเป็นสาเหตุการเสียชีวิตได้

 

 

สาเหตุของแผลกดทับ สาเหตุหลักของการเกิดแผลกดทบัมี 3 ประการ ดังนี้

แรงกดทับ (pressure): แผลกดทับอาจเกิดจากแรงกดทับบนผิวหนังจากการนั่ง หรือนอนในท่าเดิมเป็นเวลานานเกินไปโดยไม่มีการเคลื่อนไหว

            ผู้ใช้รถนั่งคนพิการเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงเนื่องจากใช้เวลานั่งบนรถนั่งคนพิการแต่ ละวันเป็นเวลานาน    หากไม่มีการลดแรงกดทับ แผลกดทับจะเกิดขึ้นง่ายมาก

การเสียดสี (friction):  การเสียดสี เป็นการถูไปมาบนผิวหนัง  ตัวอย่างเช่น แขน ถูไปมากับล้อ/ที่พักแขนในขณะที่รถนั่งคนพิการเคลื่อนอาจเกิดแผลกดทับได้

แรงเฉือน (shear):  เกิดจากการที่ผิวหนังอยู่นิ่งถูกยืดหรือบีบเนื่องจากกล้ามเนื้อ หรือกระดูกเคลื่อนที่   

ตัวอย่างในผู้ใช้รถนั่งคนพิการที่นั่ง “ตัวงอโค้งไปด้านหน้า” ผิวหนังจะเกิดอันตราย จากการฉีกขาดที่เกิดขึ้นบริเวณปุ่มกระดูกรองนั่ง เนื่องจากเชิงกรานจะหมุนไป ทางด้านหลัง หรือเกิดจากปุ่มกระดูกสันหลังถูกับพนักพิง

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดแผลกดทับ

นอกเหนือจากสาเหตุสำคัญ 3 ประการที่ทำให้เกิดแผลกดทับแล้ว ยังมีอีกหลายสิ่งที่เพิ่มโอกาสการเกิดแผล กดทับได้ง่ายขึ้น ซึ่งเรียกว่า “ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ” (pressure sore risk factors”

  • บุคคลที่สุญเสียการรับความรู้สึก : บุคคลที่สูญเสียหรือไม่สามารถรับรู้ความรู้สึกสัมผัสบริเวณก้น (โดยเฉพาะในผู้ป่วยอัมพาตครึ่งท่อนและผู้ป่วยอัมพาตทั้งตัว) มีโอกาสเกิดแผลกดทับบริเวณก้นและขา 
  • บุคคลที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ : ผู้ที่ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้จะไม่สามารถลดแรงกดได้
  • ความชื้นจากเหงื่อน้ำหรือปัสสาวะ/อุจจาระเล็ดราด : ความชื้นทำให้ผิวหนังนุ่มและทำให้เกิดอันตรายได้ง่าย ถ้าผู้ป่วยไม่ทราบวิธีจัดการกับปัสสาวะ/อุจจาระที่เหมาะสม ปัสสาวะและอุจจาระจะ ระคายเคืองต่อผิวหนัง

วิธีการรักษาแผลกดทับ


    หัวใจสำคัญในการรักษาแผลกดทับคือ การลดภาวะเสี่ยงจากการกดทับ ช่วยให้ผู้ป่วยเกิดแรงกดทับที่อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งน้อยลง ดูแลแผล บรรเทาอาการเจ็บแผล ป้องกันการติดเชื้อที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งการรักษาแบบองค์รวมจะช่วยให้สามารถดูแลได้ครบทุกด้าน วิธีการรักษาแผลกดทับ ได้แก่

  1. ลดแรงกดทับ โดยจัดท่าผู้ป่วยให้พลิกตัวทุก 2 ชั่วโมง หากนอนตะแคงควรนอนที่ 30 – 45 องศา นอนหนุนศีรษะไม่สูงเกิน 30 องศา ไม่นั่งกดทับแผล หรือให้ผู้ป่วยนอน โดยใช้เบาะลม หรือที่นอนลม เพื่อป้องกันแผลกดทับ โดยการเกิดแผลกดทับ เกิดจากการนอน กดทับจุดใด จุดหนึ่งเป็นเวลานาน เราจึงเลือกใช้ที่นอนลม เพื่อลดแรงกดทับ

2.ดูแลแผล เนื่องจากแผลจะหายในที่ที่มีความชุ่มชื้นอยู่บ้าง ดังนั้นในการทำแผลแพทย์จะพิจารณาน้ำหลั่งจากแผล ถ้าน้ำหลั่งเยอะ จะใช้วัสดุที่ดูดซับได้ดี แต่ถ้าน้ำหลั่งน้อยมาก แพทย์จะใช้วัสดุติดแผลที่ไม่ติดมากนัก จากนั้นแพทย์จะพิจารณาพื้นแผล ก้นแผล ขอบแผล ประเมินภาวะติดเชื้อ โดยจะเลือกวัสดุปิดแผลที่เหมาะกับประเภทของแผลเป็นสำคัญ เพื่อให้แผลหายเร็วขึ้นและลดการเสียดสีที่ผิวหนัง

3.การตัดเนื้อตาย แพทย์จะทำการตัดเนื้อเยื่อที่ถูกทำลายออกไป เพราะแผลกดทับจะหายได้ต้องไม่มีการติดเชื้อหรือเนื้อเยื่อตาย โดยแพทย์อาจนำส่วนของกล้ามเนื้อ ผิวหนัง หรือเนื้อเยื่อในร่างกายของผู้ป่วยมาปิดแผลและกระดูกในบริเวณที่ได้รับผลกระทบจากแผลกดทับ และแพทย์อาจให้ยาปฏิชีวนะ ครีม ขี้ผึ้ง หรือการดูแลต่าง ๆ เพิ่มเติมตามความเหมาะสม

 

อ้างอิงข้อมูลจาก : หลักสูตรอบรมการให้บริการรถนั่งคนพิการ