fbpx

โรคผู้สูงอายุ

โรคผู้สูงอายุ

  สังคมไทยทุกวันนี้มีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้น หันไปทางไหนก็มีแต่ผู้สูงอายุเต็มไปหมด (ซึ่งเราก็จะเป็นผู้สูงอายุในวันข้างหน้าเหมือนกัน) การใช้ชีวิตประจำวันก็ไม่สะดวกสบายเหมือนเดิม อันเนื่องมาจากปัญหาสุขภาพ ที่เสื่อมโทรมไปตามวัย บ้างก็ประสบปัญหาปวดเข่า หูตาฝ้าฟาง เป็นต้น

 

ในขณะที่พื้นที่สาธารณะหลายๆแห่ง ที่รวมถึงหลากหลายครอบครัว ก็เริ่มให้ความสำคัญกับปัญหาเหล่านี้ อย่างหนึ่งที่เริ่มทำกันคือ การมองหาวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ให้เอื้อกับผู้สูงอายุได้ใช้ และได้เข้าถึง เช่น การมีลิฟท์สำหรับการใช้รถไฟฟ้า นอกเหนือจากบันไดเลื่อน การมีห้องน้ำเฉพาะสำหรับผู้สูงอายุ หรือแม้กระทั่งการเลือกหา รถเข็นนั่งวิลล์แชร์ และวิลล์แชร์ไฟฟ้า ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้ จำเป็นอย่างมากในการในการเคลื่อนไหว และการเดินทาง โดยโรคส่วนใหญ่ที่เราพบในผู้สูงอายุ จะเป็นโรคที่เกี่ยวกับกระดูก การเดิน หรือการเคลื่อนไหว ยกตัวอย่างเช่น

1.โรคกระดูกพรุน  เป็นโรคที่พบในผู้สูงอายุทุกคน อันมีสาเหตุสำคัญจากการทำงานของฮอร์โมนที่ลดลง

สิ่งกระตุ้นที่ทำให้เป็นโรคกระดูกพรุน

– ไม่ได้รับแคลเซียมเพียงพอ

– กรรมพันธุ์

– การใช้ยาสำหรับโรคบางอย่างทำให้เกิดการลดความหนาแน่นของกระดูก เช่น ยาคอร์ติโซน สำหรับโรคไขข้ออักเสบ ยาเฮปาริน สำหรับโรคหัวใจและความดันโลหิต

– การสูบบุหรี่หรือดื่มสุราเป็นประจำ

– ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ดื่มชา หรือกาแฟ ซึ่งมีผลทำให้กระดูกเสื่อมง่าย

– ฮอร์โมนลดลง เช่น ในหญิงวัยหมดประจำเดือน

– ขาดการออกกำลังกาย

– ขาดวิตามินดี เพราะในวิตามินดี มีความจำเป็นในการดูดซึมแคลเซียมไปใช้

ทำอย่างไรให้ห่างไกลโรคกระดูกพรุน

– ออกกำลังกายเป็นกิจวัตร

– เมื่อมีความเจ็บปวดไม่ว่าสาเหตุใด ควรรีบทำกายภาพบำบัดหรือเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายให้เร็วที่สุดเท่าที่สภาพร่างกายจะเอื้ออำนวย

– ควรรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูงเช่นปลากระป๋องปลาเล็กปลาน้อยหรือดื่มนมพร่องมันเนยผักผลไม้เป็นต้นมา

– งดดื่มสุราและงดสูบบุหรี่

– หลีกเลี่ยงการซื้อยารับประทานเอง เช่น ยาลูกกลอน เพราะมันจะมีสารสเตียรอยด์สะสมอยู่จะทำให้กระดูกพรุนโดยไม่รู้ตัว

 

2.โรคข้อเสื่อม  เกิดจากการเปลี่ยนแปลงที่กระดูกอ่อนผิวข้อเป็นหลัก โดยมากเป็นตำแหน่งข้อ คือ มีอาการปวดและมักเป็นหลังจากที่มีการใช้ข้อมากกว่าปกติ อาจมีอาการเจ็บด้านใดด้านหนึ่งของข้อได้ หรืออาจมีอาการบวมแดง แต่เมื่อได้พักอาการปวดก็จะลดลงหรือหายไป แต่อาการจะเป็นๆหายๆ ขึ้นอยู่กับการใช้งานข้อนอก จากนี้ยังมีอาการข้อฝืดเกิดขึ้นจากการหยุดการเคลื่อนไหวข้อเป็นเวลานาน เช่น นั่งท่าเดียว นั่งสมาธิและนั่งพับเพียบฟังเทศน์ เป็นต้น

สิ่งกระตุ้นที่ทำให้เป็นโรคข้อเสื่อม

– อายุมากขึ้น

– พันธุกรรมและโรคทางเมตาโบลิค เช่น โรคเก๊าท์

– เป็นโรคที่ทำให้เกิดข้ออักเสบ เช่น โรคข้อ รูมาตอยด์ หรือข้ออักเสบติดเชื้อ

– การได้รับบาดเจ็บของข้อ อาจมีการเคลื่อนไหวข้อซ้ำๆ หรือมีน้ำหนักที่กดทับลงผิดข้อ ก็มีโอกาสเกิดข้อเสื่อมได้

– อาชีพการงานที่มีการใช้นิ้วมือมาก

– ความอ้วน พบว่า คนอ้วนมีโอกาสเกิดโรคข้อเสื่อมเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเพศหญิง ซึ่งมักเป็นที่ข้อรับน้ำหนัก เช่น ข้อเข่า เป็นต้น

– กล้ามเนื้อต้นขาเหนือเข่าอ่อนแรงหรือลีบ จะมีโอกาสเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมสูงขึ้น

ทำอย่างไรให้ห่างไกลโรคข้อเสื่อม

– หมั่นออกกำลังกาย บริหารกล้ามเนื้อให้แข็งแรง

– การนั่งส้วมไม่ควรนั่งยอง ควรปรับเปลี่ยนเป็นชักโครก หรือหาม้าสามขา มาคร่อมบนส้วมซึม

– ไม่ควรนั่งกับพื้น หรือทำกิจกรรมที่ต้องก้มเป็นเวลานาน

– หลีกเลี่ยงการขึ้นบันไดหรือที่สูงชัน

– หลีกเลี่ยงการยกของหนัก

– หากมีน้ำหนักตัวมากหรืออ้วน ควรควบคุมอาหารและออกกำลังกายสม่ำเสมอ

                                ซึ่งโรคเหล่านี้มีผลกระทบเรื่องทางการเดิน หรือ การเคลื่อนไหวของผู้สูงอายุ บางท่านอาจจะมองว่าผู้สูงอายุ อายุก็มากแล้ว จะเดินทางไปไหนมาไหน ทำให้ลำบาก อยู่แต่ในบ้านดีแล้ว แต่นั่นเป็นมุมมองที่ผิด เพราะผู้สูงอายุไทย ยังไม่คุ้นชินกับการดูแลตัวเอง จึงไม่เพียงแค่ต้องปรับตัวเท่านั้นแต่ยังต้องปรับใจด้วย

                    มีโอกาสไหม ? ที่เราจะสร้างโลกที่เหมาะกับโลกผู้สูงอายุ โลกที่พวกเขาสามารถใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข สามารถดำเนินชีวิตด้วยตนเอง ไม่ต้องพึ่งพาการช่วยเหลือมากนัก ขจัดความรู้สึกว่าไม่อยากออกจากบ้าน เพราะออกไปแล้วใช้ชีวิตลำบาก…โลกใบนี้ไม่ใช่ที่ของฉัน

ชมรายละเอียดสินค้าเพิ่มเติมได้ที่ http://www.elifegear.com/shop/lite1-pw37-ultralight/

 
 

” ดังนั้นไอเทมสำคัญสำหรับผู้สูงอายุที่ขาดไม่ได้เลย ก็คือรถเข็นนั่ง หรือ รถเข็นไฟฟ้า ที่จะทำให้ผู้สูงอายุเหล่านั้น ได้เดินทางออกไปข้างนอกเพื่อเปิดหูเปิดตา รับอากาศบริสุทธิ์ และยังส่งผลให้สภาพจิตใจของผู้สูงอายุนั้นดีขึ้น มองโลกในแง่ดี และสามารถดูแลตัวเองได้ เพียงเพราะมีรถเข็นนั่ง หรือ รถเข็นไฟฟ้า ไว้คอยเป็นเพื่อนคู่ใจ ที่จะก้าวเดินออกไปข้างนอกพร้อมกัน “