fbpx

เคล็ด(ไม่)ลับการดูแลรักษารถเข็นไฟฟ้า

แปลจากบทความโดย ALS Assistive Technology

สำหรับหลายๆคน รถเข็นไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ที่ค่อนข้างซับซ้อน วันนี้เรามีเคล็ดไม่ลับกับการดูแลรถเข็นไฟฟ้าให้คงสภาพดีและใช้งานไปได้นานๆมาแบ่งปันกันค่ะ

elife wheelchair 2

  1. Start Slow – มือใหม่ อย่าขับเร็ว

PW_Slow

หากคุณเพิ่งเริ่มหัดใช้รถเข็นไฟฟ้า ใช้เวลาสักนิดทำการศึกษารถเข็นของคุณและทำความเข้าใจว่ามันทำงานอย่างไรเพื่อความคุ้นชิน รถเข็นไฟฟ้ามักจะมีมอเตอร์กำลังสูงและควรใช้งานด้วยความระมัดระวัง ถ้าเป็นไปได้ควรขับบริเวณพื้นผิวที่ค่อนข้างเรียบ การขับขี่ลงทางลาดควรใช้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ

       2.  Basic Safety – ความปลอดภัยขั้นพื้นฐาน

PW_Safety

2.1) เพื่อความปลอดภัย ก่อนจะลุกขึ้นจากหรือเข้านั่งรถเข็นไฟฟ้า อย่าลืมกดปิดปุ่มพาวเวอร์ก่อน

2.2) แผ่นวางเท้าและที่พักแขนไม่ได้ถูกออกแบบมาให้รับน้ำหนักปริมาณมาก ดังนั้นไม่ควรทิ้งน้ำหนักทั้งหมดไปที่แผ่นวางเท้าและที่พักแขนเมื่อคุณจะลุกจากรถเข็น    ไม่เช่นนั้นแล้วรถเข็นไฟฟ้าอาจจะเสียหรือเสื่อมได้ง่าย ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ใช้งานเองก็อาจได้รับอันตรายด้วยเช่นกัน

2.3) อย่าลืมว่าแท่งบังคับจะเคลื่อนรถไปตามมือของผู้ใช้ ดังนั้นยิ่งผลักแท่งบังคับไปไกลแค่ไหน รถเข็นไฟฟ้าก็จะเคลื่อนไปเร็วมากขึ้นเท่านั้น อย่างไรก็ดี รถเข็นไฟฟ้าบางรุ่นสามารถตั้งค่าควบคุมอัตราความเร็วของตัวรถไว้ล่วงหน้าได้ ทั้งนี้เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการและการใช้งานของผู้ใช้ หากคุณไม่ทราบว่ารถเข็นไฟฟ้ารุ่นที่คุณใช้สามารถตั้งค่าความเร็วไว้ล่วงหน้าได้หรือไม่ กรุณาติดต่อสอบถามร้านค้าที่คุณซื้อมา

2.4) รถเข็นไฟฟ้าหลายรุ่นมีระบบเบรคอัตโนมัติเมื่อปล่อยมือออกจากแท่งบังคับ ถือเป็นฟังค์ชั่นที่น่าสนใจ

2.5) รถเข็นไฟฟ้าส่วนมากสามารถกดปุ่มเลือกไม่ใช้มอเตอร์และเปลี่ยนมาใช้ระบบมือหมุนหรือเข็นด้วยมือได้ หากคุณไม่ทราบว่ารถเข็นไฟฟ้ารุ่นที่คุณใช้ต้องกดปุ่มไหนจึงใช้ฟังก์ชั่นนี้ได้ กรุณาติดต่อร้านค้าที่คุณซื้อมา (สำหรับรถเข็นไฟฟ้า Elifegear คุณสามารถใช้ระบบนี้ได้โดยหมุนเดือยบริเวณล้อได้เลย)

 

          3. Batteries – แบตเตอรี่

PW_Batteries

เมื่อคุณใช้รถเข็นไฟฟ้า อย่าลืมชาร์จแบตเตอรี่เป็นประจำ คุณควรชาร์จแบตเตอรี่เมื่อไฟแสดงระดับพลังงานลดลงต่ำกว่า 50 เปอร์เซนต์ หากคุณไม่ได้ใช้รถเข็นไฟฟ้าและไม่ได้ชาร์จแบตเตอรี่เป็นเวลานาน แบตเตอรี่อาจเสื่อมได้และทำให้คุณต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่เลยทั้งก้อน ซึ่งเป็นการเปลืองค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น

อายุการใช้งานโดยทั่วไปของแบตเตอรี่รถเข็นไฟฟ้าคือประมาณ 2-3 ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการใช้งานและการดูแลรักษาของผู้ใช้

 

           4. Storage – การเก็บรักษา

800px-HP_garage_front

หากเป็นไปได้ รถเข็นไฟฟ้าควรเก็บอยู่ในทึควบคุมอุณหภูมิ ทั้งนี้ก็เพราะอากาศที่ร้อนหรือเย็นมากจนเกินไปอาจสร้างความเสียหายแก่แบตเตอรี่และระบบอิเล็กทรอนิกส์ของรถเข็นไฟฟ้าได้ ดังนั้นจึงไม่ควรเก็บรถเข็นไฟฟ้าไว้กลางแจ้ง

 

          5. Getting the chair wet – การใช้งานกับความเปียกชื้น

PW_faucet

รถเข็นไฟฟ้ามีระบบอิเล็กทรอนิกส์และแบตเตอรี่ซึ่งอาจเสียหายได้ถ้าเปียกมากๆ ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงแอ่งน้ำซึ่งอาจทำให้น้ำกระเซ็นใส่ได้ หากมีฝนตกเล็กน้อย ควรใช้แผ่นหรือถุงพลาสติกคลุมแท่งควบคุมขณะขับ ไม่ควรขับรถเข็นไฟฟ้าออกตากฝนเมื่อตกหนัก

 

           6. Basic Maintenance – การดูแลรักษาเบื้องต้น

PW_Maintenance

6.1) พยายามฟังเสียงรถเข็นไฟฟ้าของคุณ ทำความคุ้นเคยกับเสียงของมัน หากมีเสียงผิดปกติ ควรอ่านคู่มิอที่ให้ไว้กับตัวรถทันที

6.2) หากรถเข็นไฟฟ้าสกปรก เช็ดทำความสะอาดด้วยผ้าขนหนูชุบน้ำบิดหมาดๆ หากจำเป็นอาจใช้ผงซักฟอกอย่างอ่อนร่วมด้วย ห้ามนำส่วนใดส่วนหนึ่งของรถเข็นไฟฟ้าไปจุ่มน้ำโดยเด็ดขาด

6.3) ดูแลล้อของรถเข็นไฟฟ้าให้สะอาดเพื่อตรวจดูว่ามีเศษอะไรทิ่มล้ออยู่หรือไม่

6.4) หมั่นตรวจเช็คสายเชื่อมและข้อต่อต่างๆว่าแน่นดีหรือไม่ รวมทั้งตรวจดูว่าไม่มีสายใดผุหรือเสื่อม


[suffusion-widgets id=’6′]